วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลการประชุม ARF DOD และ ARF ISG on CBMs and PD



ผลการประชุม ASEAN Regional Forum Defence Officials' Dialogue (ARF DOD) และการประชุม ASEAN Regional Forum Inter – Sessional Support Group on Confidence Building Measures and Preventive Diplomacy (ARF ISG on CBMs and PD) ระหว่าง 30 พ.ย. – 4 ธ.ค.2557 ณ รัฐมาละกา ประเทศมาเลเซีย




วัตถุประสงค์ของการประชุมฯ 
เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Experts’Working Group : EWG)ในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน กับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting – Plus: ADMM - Plus) และกำหนดแนวทางการประชุม ARF DOD ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน ประเทศสมาชิก ARF 26 ประเทศและสหภาพยุโรป (EU) เข้าร่วมการประชุมฯ ในส่วนของประเทศไทยมี ผู้แทนกระทรวงกลาโหม และ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม

ผลการประชุม ARF DOD

  1. คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ชี้แจงสถานะล่าสุดของการดำเนินงาน ดังนี้
    1. ด้านความมั่นคงทางทะเล (อินโดนีเซีย และบรูไน เป็นประธานร่วม) มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และฝึก Table Top Exercise ในปี 2557 รวมทั้งจะมีการฝึกภาคสนามด้านความมั่งคงทางทะเลร่วมกับการฝึกต่อต้านการก่อการร้ายในปี 2559 ณ ประเทศอินโดนีเซีย
    2. ด้านการแพทย์ทหาร (ไทย และรัสเซีย เป็นประธานร่วม) มีการจัดประชุมหน่วยแพทย์ทหารประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา เมือ 20 – 29 ต.ค.2557 ซึ่งที่ประชุมฯ มีมติเปลี่ยนชื่อศูนย์ประสานงานด้านการแพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Military Medicine Coordination Center : AMMCC) เป็นศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Military Medicine : ACMM) และจะจัดการฝึกร่วมด้านการแพทย์ทหารและด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) ในปี 2559 เพื่อทดสอบการจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารเอเซียน ณ ประเทศไทย
    3. ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (สิงคโปร์และออสเตรเลีย เป็นประธานร่วม) จะมีการฝึกด้านการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกับการฝึกด้านความมั่นคงทางทะเลในปี 2559
    4. ด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ  (สปป.ลาว และ ญี่ปุ่น เป็นประธานร่วม) มีการประชุมเกี่ยวกับกฎหมายและการปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและการจัดทำเว็บไซต์ เพื่อความสะดวกด้านข้อมูล
    5. ด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (กัมพูชา และ เกาหลีใต้ เป็นประธานร่วม) มีการประชุมเชิงปฎิบัติการเกี่ยวกับการปฏิบัติการเพื่อรักษาสันติภาพ ณ กล.ต. เมื่อ 24 – 25 ก.ย.2557
    6. ด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (เวียดนาม และ อินเดียเป็นประธานร่วม) มีการประชุมครั้งที่ 1 ณ เวียดนาม เมื่อ 17 – 20 มิ.ย.2557 และครั้งที่ 2 ณ อินเดีย เมื่อ 3 – 5 ธ.ค.2557 ซึ่งจะมีการจัดทำแผนงานที่ชัดเจนหลังการประชุม
  2. ที่ประชุม เห็นควรจัดการประชุม ARF DOD ปีละครั้ง ในห้วงเดียวกับการประชุม ARF Senior Officias’ Meeting และ ARF ISG on CBMs and PD ร่วมทั้งการขยายความร่วมมือไปสู่ภาคพลเรือน และเพิ่มความร่วมมือด้านการค้นหาและช่วยชีวิตให้มากขึ้นทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี
ผลการประชุม และ ARF ISG on CBMs and PD 
  • ผู้แทนประเทศจีน แจ้งว่าการประชุม ARF TRAINING Course on Preventive Diplomacy ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน  เมื่อ 13 – 19 ต.ค.2557  ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง 
  • ผู้แทนประเทศญี่ปุ่น แจ้งกำหนดจัดการประชุมฯ ครั้งต่อไป ณ กรุงโตเกียว  ในห้วง เม.ย. หรือ พ.ค.2558 
  • ผู้แทนประเทศมาเลเซีย แจ้งกำหนดการประชุม ADMM ระหว่าง 15-16 มี.ค.2558  และการประชุม ADMM Retreat ระหว่าง 16 – 17 พ.ย.2558 และการประชุม ADMM – Plus ระหว่าง 18-19 พ.ย.2558 
**********************

อ่านเพิ่มเติม ASEAN Regional Forum (ARF)

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รายงานพิเศษ PPTV เข้มข่าวค่ำ
















ที่มา : KHEM KHAOKHAM

ชีวิตติดกับระเบิด




ที่มา : Sigma Production

POM2 กิจกรรมนักศึกษาญี่ปุ่นที่คนไทยควรรู้


POM²  ย่อมาจาก The Problem of mines is the Problem of mine พอจะแปลเป็นไทยได้ว่า "ปัญหาทุ่นระเบิดคือปัญหาของฉัน"

POM² เป็นกิจกรรมขององค์กรนักศึกษาญี่ปุ่น  องค์กรนักศึกษาเหล่านี้ "ขายสติ๊กเกอร์"  เพื่อนำเงินรายได้มาสนับสนุนการเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ยังตกค้างอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทย ครั้งแรกเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2546 โดยนักศึกษากลุ่มหนึ่งในชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัยเคโอโชนัน วิทยาเขตฟูจิซาวา (Keio University Shonan Fujisawa Campus) ตอนนี้ POM² มีสถานะเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ( The nonprofit organization : NPO) ภายใต้โครงการเพื่อสังคมของญี่ปุ่น (Socio Project bureau (Japanese))

แคมเปญ "กวาดล้างพื้นที่ทุ่นระเบิดด้วยสติ๊กเกอร์" 
POM² มีความประสงค์อยากจะช่วยทำการกวาดล้างพื้นที่สนามทุ่นระเบิดที่เหลืออยู่ในประเทศไทยให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและมีความสันติสุข โดยการบริจาคเงินกำไรจากการขายสติ๊กเกอร์ให้ มูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ (Peace Road Organization) ซึ่งเป็น NGO ของไทยที่ปฏิบัติงานด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย ใช้เป็นทุนในการปฏิบัติงาน สติ๊กเกอร์ที่ขายราคาแผ่นละ 300 เยน (ประมาณ 82 บาท) สามารถนำไปติดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ กระเป๋าเดินทาง ยานพาหนะ เป็นต้น  






เงินที่ได้จากขายสติ๊กเกอร์จำนวน 1 แผ่นราคา 300 เยน จะถูกบริจาคให้ PRO จำนวน 200 เยน ส่วนอีก 100 เยน จะเป็นค่าใช้จ่ายในการพิมพ์และค่าดำเนินงานของ POM²  และที่สติ๊กเกอร์แต่ละแผ่นจะมีหมายเลขกำกับโดยชัดเจน  เพื่อให้ผู้ที่ซื้อสติ๊กเกอร์สบายใจได้ว่า เงินเหล่านี้ถูกนำไปใช้บริจาคเพื่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิดจริง



POM² บอกว่า เงิน 100 เยน  (ประมาณ 28 บาท) สามารถใช้กวาดล้างพื้นที่ทุ่นระเบิดในประเทศไทยได้ 1 ตร.ม. ดังนั้น สติ๊กเกอร์จำนวน 1 แผ่น ที่ผู้บริจาคซื้อ จะสามารถช่วยกวาดล้างพื้นที่ทุ่นระเบิดในประเทศไทยได้ จำนวน 2 ตร.ม. (200 เยน/56 บาท) 

ผู้แทนนักศึกษา POM² ส่วนหนึ่งได้เดินทางจากประเทศญี่ปุ่น มาเยี่ยมชมการปฏิบัติงานด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย (HDO IN THAILAND) ของมูลนิธิ  PRO พร้อมนำเงินรายได้จากการขายสติ๊กเกอร์มาบริจาคเพื่อใช้เป็นทุนดำเนินการและร่วมทำกิจกรรมดีกับเด็กๆ ไทยในชนบทเป็นประจำทุกปี..เมื่อมีโอกาส  

ผู้แทนนักศึกษากลุ่ม POM2 เยี่ยมชมงานเก็บกู้ทุ่นระเบิด
เพื่มนุษยธรรมในประเทศไทย พร้อมนำเงินกำไรจากการขายสติ๊กเกอร์
มาบริจาคให้แก่มูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ (PRO)




ร่วมทำกิจกรรมกับนักเรียนไทยในชนบท

นี่คือตัวอย่างกิจกรรมที่ดีๆ ของนักศึกษาญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทย  เพื่อให้พื้นที่ของประเทศไทยปลอดภัยจากทุ่นระเบิด  ซึ่งหลายคน อาจไม่เคยรู้  เงินที่จำหน่ายสติ๊กเกอร์แต่ละแผ่น แม้จะได้ไม่มากนัก  แต่ก็เป็นน้ำใจที่คนไทยอย่างเราควรระลึกถึงและจดจำ ผมในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ขอชื่นชมสรรเสริญ นักศึกษา POM² กลุ่มนี้ด้วยความจริงใจ

ด้วยจิตคารวะ

อ่านเพิ่มเติม http://www.jirai.org/

*********************************
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ : 19 ก.พ.2558

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของอาเซียน ครั้งที่ 2 (2st ADMM-Plus on HMA) : อินเดีย


ผลการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของอาเซียน ครั้งที่ 2 (2st ADMM-Plus on HMA) ระหว่าง 3-5 ธ.ค.2557 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย 

วัตถุประสงค์การประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานและประสานความร่วมมือของคณะทำงานฯ

ประธานร่วม กห.อินเดีย และ กห.เวียดนาม
ผู้แทนประเทศที่เข้าร่วมประชุม  ออสเตรเลีย  สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิบปินส์ สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย

ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
  • Situational update and current issue : Mine Action/UXO Disposal โดย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นผู้นำเสนอ
  • Identification of Avenues for Cooperation โดย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นผู้นำเสนอ
  • Capability development Plan for Affect Nations โดย ออสเตรเลีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นผู้นำเสนอ
  • การนำเสนอของ NGO เรื่อง "Jaipur Foot & Horizon"


*********************************

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ได้เสาแล้วครับ



นายสนอง โสโรส อยู่บ้านเลขที่ 84/4 ม.6 บ.มะรุม ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี อายุ 59 ปี ผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดขาซ้ายขาด กลายเป็นผู้พิการ อาชีพรับจ้างเฝ้าสวนลำใยและดูแลลำใย 


ตอนพวกเราไปเยี่ยมแกเมื่อ วันที่ 22 ม.ค.2558 แกขออนุญาตตัดต้นมะม่วงและไม้แดงที่ตายแล้วในสวนลำใยที่แกรับจ้างเฝ้าอยู่ (แถวนั้นจะตัดต้นไม่ต้องขออนุญาตทางราชการครับ) เพื่อมาทำเสาขนำ (บ้านสำหรับเฝ้าสวน) ซึ่งพังอยู่ ตอนนี้ ไม่มีที่อาศัย ต้องไปอาศัยอยู่ที่บ้านของเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่ง ผมเลยบอกว่า "อย่าตัดมันเลย" เดี๋ยวผมหาบริจาคให้

และต่อมาเมื่อวันที่ 5 ก.พ.2558 พวกเราได้มอบเสาปูน 6 ศอก จำนวน 6 ต้นรวมราคา 2,520 และมอบเงินขวัญถุงให้อีก 500 บาท รวมเป็น 3,020 บาท ให้เรียบร้อยแล้วครับ โดยมี นปท.2 (กองทัพเรือ) ช่วยเป็นธุระให้

ขอขอบคุณ นายภาคภูมิ มินรินทร์ (หมออาร์ม) เจ้าของกัญญาภัค การ์เด้น รีสอร์ท อ.อุ้มผาง จ.ตาก (พวกเราไปเล่าให้แกฟังตอนไปแกะรอยทุ่นระเบิดที่นั่น) ช่วยบริจาคเงินสมทบ 1,000 บาท และ จ.ส.อ.รณกรณ์ ช่วงอรุณ (จ.เหน่ง) พวกเราเอง ร่วมสมทบด้วยอีก 1,000 บาท เงินที่เหลือใช้เงินจาก "กองทุน HDO THAILAND เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด"

ขออนุโมทนาบุญกุศลครั้งนี้ที่ช่วยให้คนพิการมีบ้านอยู่ แด่ผู้ใจบุญทั้งสอง และแด่เพื่อนพี่น้อง HDO THAILAND ทุกคนครับ








นายภาคภูมิ มินรินทร์ (หมออาร์ม) 

จ.ส.อ.รณกรณ์ ช่วงอรุณ (จ.เหน่ง) 


กองทุน HDO มอบเงินให้ผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด จ.ตราด



เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2558 พันเอก ดร.สุชาต  จันทรวงศ์ พร้อมด้วยคณะกรรมการติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด เข้าเยี่ยมบ้านผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด  นายครรชิต หอยสังข์ บ้านเลขที่ 165 ม.8 บ.ท่าเส้น ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด พร้อมได้มอบเงินจาก "กองทุน HDO THAILAND เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทนระเบิด" จำนวนหนึ่งไว้เป็นค่าใช้จ่ายในยามจำเป็น นอกจากนั้น หน่วยปฏฺิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2 (กองทัพเรือ) ยังได้มอบข้าวสาร อาหารแห้งและสิ่งของจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตให้จำนวนหนึ่งด้วย 









TDA บริจาคเงินเข้ากองทุน HDO


เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2558  นายอมรชัย ศิริไสย์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดพลเรือนไทย (TDA)/ผู้จัดการโครงการ MRCT  พร้อมคณะ ได้มอบรายได้จากการจัดจำหน่ายเสื้อโปโล SMART TDA จำนวน 11 ตัว จำนวนเงินทั้งสิ้น 4,400 บาท บริจาคเข้า "กองทุน HDO THAILAND เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด" (HDOF for VA)  ณ ห้องทำงานส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ โดยมี พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ หัวหน้าส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล เป็นผู้รับมอบ