วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

หารือการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ฯ



เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 13:30 น. พันเอก ดร.สุชาต   จันทรวงศ์ หัวหน้าส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล ศูนย์ปฎิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ได้ให้การต้อนรับ คุณมยุรี  ผิวสุวรรณ ที่ปรึกษามูลนิธิคนพิการไทย (THAI WITH DISABILITY FOUNDATION)  ซึ่งได้เข้าหารืออย่างไม่เป็นการถึงความเป็นไปได้ในการจดตั้ง "ศูนย์บริการคนพิการ"  ตามมาตรา 20/4 ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 

ศูนย์บริการคนพิการนี้ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ดังนี้ 
  1. สำรวจ ติดตามสภาพปัญหาคนพิการ และจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการในเขตรับผิดชอบ
  2. ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และความช่วยเหลือตามที่คนพิการร้องขอ และตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด รวมทั้งการให้คำปรึกษา หรือช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธิประโยชน์แก่คนพิการ 
  3. เรียกร้องแทนคนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการตามพระราชบัญญัตินี้
  4. ให้ความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การฝึกอาชีพ และการจัดหางานให้แก่คนพิการ
  5. ให้ความช่วยเหลือคนพิการให้ได้รับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล  
  6. ประสาน คัดกรอง ส่งต่อ และให้ความช่วยเหลือคนพิการหรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะพิการให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่เหมาะสม
  7. ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้ความช่วยเหลือคนพิการตามประเภทความพิการ
  8. ติดตามและประเมินผล และรายงานเกี่ยวกับการได้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ และการดำรงชีวิตของคนพิการ
  9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฏหมายอื่น หรือตามที่คณะกรรมการหรือสำนักงานมอบหมาย
โดยขั้นต้นทางมูลนิธิคนพิการไทย จะนำร่องในพื้นที่ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี และ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ  จะลงพื้นที่สำรวจประมาณเดือนพฤศจิกายน 2557 จึงอยากให้ทาง TMAC ช่วยสำรวจศักยภาพในพื้นที่ดังกล่าวเบื้องต้นว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร

***************************
ภาพ : จ.ส.อ.พรชัย ฉายินทุ
ข่าว : จ.ส.อ.วราวุฒิ ประสานสิน

วิธีการสุ่มตรวจแบบงูเลื้อย (Snake Walker Random)



ความเป็นมา
ในการปรับลดพื้นที่อันตรายด้วยวิธี Land Release ในขั้นต้นจะมีการเข้าสำรวจพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยัน (CHA) ด้วยวิธีการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (NTS) หลังจากนั้นจะนำข้อมูลข่าวสารที่ได้จากแหล่งข่าวและประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการเข้าสำรวจพื้นที่ทางกายภาพแล้ว นำแบ่งมาเป็นพื้นที่ย่อยๆ ต่อจากนั้นจึงนำมากรอกใน Scoring Table พื้นที่ CHA ก็จะสามารถแบ่งพื้นที่ย่อยๆ เหล่านั้นให้เป็นสีต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ใน NMAS ดังภาพตัวอย่างที่แสดงไว้ด้านล่าง

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

แนวทางการเลือกพื้นที่ในการสุ่มตรวจอย่างมีคุณภาพ


หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release นั้น คือการเลือกพื้นที่ในสุ่มตรวจ หากสามารถเลือกพื้นที่ในการสุ่มตรวจได้อย่างมีคุณภาพ เป็นตัวแทนของพื้นที่นั้นๆ ได้แท้จริงแล้ว จะให้ทำมีความเชื่อมั่นว่าพื้นที่นั้นมีความปลอดภัยสูง

คำถามมีอยู่ว่า หากผลการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (NTS) ระบุออกมาว่า พื้นที่ A มีขนาด 1,000 ตร.ม. เป็นพื้นที่ที่ต้องการการสำรวจทางเทคนิคแบบปกติ (Normal Technical Survey : NMTS) โดยใช้อัตราการสุ่มตรวจร้อยละ 20 ของพื้นที่ นั้นหมายถึงผู้ปฏิบัติงานต้องทำการสุ่มตรวจในพื้นที่ A นี้ ให้ได้พื้นที่อย่างน้อย 200 ตร.ม. ซึ่งพื้นที่ 200 ตร.ม.ที่เลือกนั้น จะต้องเป็นตัวแทนพื้นที่ 1,000 ตร.ม. ได้อย่างแท้จริง

หากเทียบกับการวิจัย ประชากรในการวิจัย ก็คือ พื้นที่ 1,000 ตร.ม. กลุ่มตัวอย่าง ก็คือ พื้นที่ 200 ตร.ม. นั้นเอง ดังนั้นการเลือกกลุ่มอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรที่แท้จริง จะทำให้งานวิจัยมีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) 

วิธีการสุ่มตัวอย่างในงานวิจัย จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) และการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability sampling) โดยสามารถแยกได้ดังนี้[1]
  1. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) การสุ่มตัวอย่างในลักษณะนี้ ที่เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กัน มีดังนี้
    1. การเลือกตัวอย่างโดยบังเอิญ (Accident Sampling)
    2. การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
    3. การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling)
    4. การเลือกตัวอย่างแบบก้อนหิมะ (Snowball Sampling
  2. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability sampling) การสุ่มตัวอย่างในลักษณะนี้ ที่เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กัน มีดังนี้
    1. การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
    2. การสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ (Systematic Random Sampling)
    3. การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
    4. การสุ่มตัวอย่างแบบยกกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
    5. การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)


ทำลายทุ่นระเบิด นปท 3 (18 ก ย 2557)



การทำลายทุ่นระเบิดและสรรพาวุธระเบิดที่ยั­งไม่ระเบิดของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้­านมนุษยธรรมที่ 3 (นปท.3) เมื่อ 17 และ 18 ก.ย.2557
ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

12 วันสามพันห้าร้อยกิโลเมตร จากเหนือสู่ปลายแหลมตะวันออก

การเดินทางครั้งสุดท้ายของพวกเราก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2557 นี้ ผมรู้สึกว่ามันตรากตรำและเหนื่อยล้าพอสมควร ผมรู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรงโดยไม่รู้ตัว.....

อ่านต่อ