วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีการสุ่มตรวจแบบงูเลื้อย (Snake Walker Random)



ความเป็นมา
ในการปรับลดพื้นที่อันตรายด้วยวิธี Land Release ในขั้นต้นจะมีการเข้าสำรวจพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยัน (CHA) ด้วยวิธีการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (NTS) หลังจากนั้นจะนำข้อมูลข่าวสารที่ได้จากแหล่งข่าวและประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการเข้าสำรวจพื้นที่ทางกายภาพแล้ว นำแบ่งมาเป็นพื้นที่ย่อยๆ ต่อจากนั้นจึงนำมากรอกใน Scoring Table พื้นที่ CHA ก็จะสามารถแบ่งพื้นที่ย่อยๆ เหล่านั้นให้เป็นสีต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ใน NMAS ดังภาพตัวอย่างที่แสดงไว้ด้านล่าง


วิธีการสุ่มตรวจแบบงูเลื้อย (Snake Walker Random)
หลังจากการทำการ  NTS แล้วกรอกข้อมูลใน Scoring Table หากพื้นที่ย่อยใดปรากฏว่าเป็นพื้นที่สีเขียวเข้ม (Land Release) หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ สามารถปรับลดเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากทุ่นระเบิดได้เลย และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความปลอดภัย  สปป.ฯ โดย พันเอกสุชาต จันทรวงศ์ จึงได้คิดค้นวิธีการสุ่มตรวจแบบงูเลื้อย (Snake Walker Random) ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลพื้นที่ปลอดภัย (QC Team) สุ่มตรวจพื้นที่ที่จะปรับลด (Land Release) เพื่อพิสูจน์ทราบความปลอดภัยในพื้นที่นั้นอีกครั้ง ก่อนที่จะส่งมอบและประกาศรับรองเป็นพื้นที่ปลอดภัยต่อไป

การสุ่มตรวจแบบงูเลื้อย (Snake Walker Random) คณะกรรมการฯ จะเดินทางด้วยเท้าในพื้นที่ที่จะปรับลด (Land Release) โดยจะเดินไปตามเส้นทางใดๆ ก็ได้ตามที่คณะกรรมการฯ จะพิจารณา เพราะสมมติฐานก็คือ หากหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิด มั่นใจว่ามีความปลอดภัยจริง คณะกรรมการฯ ก็สามารถเดินทางในพื้นที่นั้นได้อย่างปลอดภัยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเส้นทางการสุ่มตรวจแบบงูเลื้อย ได้แสดงไว้ภาพด้านล่างนี้



ในการเลือกเส้นทางเดินของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลพื้นที่ปลอดภัย นั้น คณะกรรมการฯ ใช้ข้อพิจารณาตัดสินใจเลือกเส้นทางเดินด้วยความน่าจะเป็น (Probability) โดยมีตัวแบบทางความคิด ดังนี้

SWR = P (TRIP ∩ DO)

SWR = Snake Walker Random (การสุ่มแบบงูเลื้อย)
P = Probability (ความน่าจะเป็น)
T =Terrain (ลักษณะภูมิประเทศ)
R = Route (เส้นทางที่มีอยู่)
I = Information (ข้อมูลข่าวสาร,ประวัติพื้นที่)
P = People (การใช้ประโยชน์พื้นที่ของประชาชน)
D = Doctrine (หลักนิยมการรบของคู่สงคราม)
O = OCOKA (ลักษณะพื้นที่ทางยุทธวิธีหรือการพิจารณาภูมิประเทศทางทหาร) ได้แก่
  • O : OBSERVATION & FIELD OF FIRE : การตรวจการ และพื้นการยิง
  • C : COVER & CONCEALMENT : การกำบัง และซ่อนพราง
  • O : OBSTACLE : เครื่องกีดขวาง
  • K : KEY TERRAIN : ภูมิประเทศสำคัญ
  • A : AVENUE OF APPROACH : แนวทางการเคลื่อนที่

************************************
เขียนโดย : พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น