วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การแกะรอยทุ่นระเบิด (Mine Tracker)


การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Demining Operations : HDO) ในประเทศไทย เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 หลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาการห้ามใช้ ผลิต สะสม และโอนและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือที่เรียกว่าอนุสัญญาออตตาวา



งานหลักๆ ของ HDO in Thailand มี 3 ด้าน ได้แก่
  1. งานแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากทุ่นระเบิด เพื่อป้องกันไม่ให้ราษฎรเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการเหยียบทุ่นระเบิด และตะหนักถึงพิษภัยของทุ่นระเบิด เมื่อพบเจอ อย่าจับ อย่าสัมผัส ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  2. งานค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดที่ตกค้างจากการสู้รบในอดีต
  3. งานช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด ให้มีความเป็นอยู่ในสังคมตามฐานะและตามสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับ
งานค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดที่ตกค้างจากการสู้รบในอดีต นับว่าเป็นงานท้าทายอย่างยิ่ง การแกะรอยทุ่นระเบิด (Mine Tracker) ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการบรรลุภารกิจนี้ ทุ่นระเบิดและสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) ที่ตกค้างและหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยถึงปัจจุบัน เกิดจากการสู้รบในอดีตที่ผ่านมาพอสรุปได้ดังนี้

  • พ.ศ.2484-2488 สงครามโลกครั้งที่ 2
  • พ.ศ.2490-ปัจจุบัน ชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์
  • พ.ศ.2492-2432 โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา
  • พ.ศ.2508-2525 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2518-2539 การรบของเขมรแดงและเวียดนาม



การแกะรอยทุ่นระเบิดครั้งแรก
หลังจากที่ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาออตาวา เมื่อปี พ.ศ.2542 ศูนย์ปฎิบัติการสำรวจ (Survey Action Center : SAC) ของสหประชาชาติ ได้คัดเลือกและมอบหมายให้ องค์การเพื่อความช่วยเหลือชาวนอร์เวย์ (NPA) ร่วมกับศูนย์ปฎิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (Thailand Mine Action Center : TMAC) ดำเนินการสำรวจเรื่องผลกระทบจากทุ่นระเบิดในประเทศไทยอยู่ประมาณ 2 ปี จนกระทั่งการสำรวจแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2545 พบว่า "มีพื้นที่ต้องสงสัยว่าจะมีทุ่นระเบิดอยู่จำนวน 933 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 2,556.7 ตร.กม. ใน 23 จังหวัด มีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจำนวน 530 หมู่บ้าน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยของราษฎรจำนวน 503,682 คน "

การสำรวจผลกระทบดังกล่าวใช้กำลังคนและทรัพยากรจำนวนมาก ลงพื้นที่จริง พูดคุยสนทนากับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่มากรอกแบบฟอร์มต่างๆ อย่างเป็นระบบ การสำรวจดังกล่าว ผมถือว่าเป็นการแกะรอยทุ่นระเบิดครั้งแรกในประเทศไทย

การค้นหาและเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ผ่านมา
การปฏิบัติภารกิจขององคกร HDO ต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา ถึงปัจจุบัน สามารถค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดได้  ตามภาพที่แสดงไว้ด่านล่างนี้ 



ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลที่พบมากที่สุด ก็คือ PMN ซึ่งผลิตจากรัสเซีย ซึ่งคาดว่ากองทัพเวียดนามจะเป็นผู้วาง รองลงมาคือ TYPE  69 ซึ่งผลิตจากจีน คาดว่ากองทัพเขมรแดงจะเป็นผู้วาง 


ทุ่นระเบิดดักรถถังที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ M6 A2 ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา คาดว่ากองทัพไทยจะเป็นผู้วางเอง เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยเข้ามาในดินแดนไทยของกองทัพเวียดนามและกองทัพเขมรแดง

ประสบการณ์กำลังจะสูญหาย
ผู้ที่ปฏิบัติการค้นหาและเก็บกู้ทุ่นระเบิดในประเทศไทย หลายคนเสียชีวิตไปแล้ว และหลายคนไม่มีโอกาสที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานรุ่นต่อไปได้ฟัง ความรู้และประสบการณ์ที่คนเหล่านี้มีอยู่ ยังไม่ถูกสกัดออกมาและเก็บบันทึกเอาไว้เป็นความรู้ให้ HDO รุ่นหลังได้ศึกษา ผมมีความเชื่อว่า "หากพวกเราแกะรอยมันได้ พวกเราจะปลอดภัย...และทำงานได้เร็วขึ้น" บางครั้งการค้นหาอดีต อาจช่วยให้เราแก้ปัญหาในปัจจุบันได้  

การใช้เครื่องตรวจค้นเดินนำหน้าหาทุ่นระเบิดไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะมันเสี่ยงกับชีวิตของเรา หากเราพบมันเข้าจริงๆ สักทุ่นหนึ่งกลางผืนป่า อาจทำให้เรารู้สึกเว๋อ..สับสน  คิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้าหากเรามีเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับการแกะรอยทุ่นระเบิดแล้ว ความรู้เหล่านี้อาจช่วยเราได้   


การแกะรอยทุ่นระเบิด (Mine Tracker)
ในปีนี้ ผมตั้งใจที่จะรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการแกะรอยทุ่นระเบิด (Mine Tracker) จากผู้ที่มีประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1,2,3 และ 4 จากชุด ช.กองกำลังสนามต่างๆ จากองค์กร NGO ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ รวมทั้งศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ และเอกสารต่างๆ นำมาสกัดเป็นความรู้เพื่อถ่ายทอดให้แก่  HDO รุ่นหลังๆ ได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป องค์ความรู้เหล่านี้ ไม่ควรจะสูญหายไป  และควรที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในปฏิบัติงานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้พวกเราปลอดภัย   




ขอความกรุณา HDO ผู้มีประสบการณ์ ได้โปรดช่วยอนุเคราะห์ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของท่านให้แก่พวกเราฟังด้วย จักเป็นคุณูปการณ์อย่างยิ่งต่อวงการการปฏิบัติทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย (HDO in THAILAND) สืบต่อไป 

*********************
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ : 27 ต.ค.2557
โทร. 081-434-8777
อีเมล์ s463368@gmail.com

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ยุทธศาสตร์ขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติการทุ่นระเบิด พ.ศ.2556-2561


The Strategy of The United Nations on mine action 2013-2018
ยุทธศาสตร์ขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติการทุ่นระเบิด พ.ศ.2556-2561



Vision
The vision of the United Nation is a world free of the threat of mines and explosive remnants of war (ERW), including cluster munitions, where individuals and communities live in a safe environment conducive to development and where the human rights and the needs of mine and ERW, victims are met and survivors are fully integrated as equal members of their societies.

วิสัยทัศน์
โลกต้องปราศจากภัยคุกคามจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม(ERW) รวมทั้งระเบิดพวง สถานที่ที่ประชาชนอยู่อาศัยและชุมชนต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเอื้อต่อการพัฒนา ได้รับการช่วยเหลือตามสิทธิมนุษยชนเมื่อต้องการให้มีการปฏฺิบัติการเกี่ยวกับทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม  ผู้ที่ประสบภัยจากทุ่นระเบิดต้องถูกค้นพบและได้รับการช่วยเหลือให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมของพวกเขาอย่างเท่าเทียมกันกับคนปกติ

Mission statement
The United Nations work affected states to reduce the threat and impact of mines and ERW, including cluster munitions, on peace and security, humanitarian relief, human rights, and socio-economic development ; It does so in partnership with civil society, the private sector, international and regional arrangements, and donors with an aim to secure levels of prevention and protection for individuals and communities, and protection for individuals and communities, at which point UN mine action assistance is no longer requested. 

พันธกิจ
องค์การสหประชาชาติปฎิบัติงานในรัฐที่ได้รับผลกระทบ เพื่อลดภัยคุกคามและผลกระทบจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงครามรวมทั้งระเบิดพวง บนพื้นฐานแห่งสันติภาพและความมั่นคง การบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม ด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาด้านสังคมเศรษฐกิจ โดยร่วมมือกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชนระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค และผู้บริจาคเงิน ที่มีความประสงค์ที่จะป้องกันและปกป้องประชาชนและชุมชน  และองค์การสหประชาชาติต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว เมื่อได้รับการร้องขอจากบุคคลและชุมชนที่ต้องการการปฏิบัติการด้านทุ่นระเบิด 

Objectives
  1. Risk to individuals and the socio-economic impact of mine and ERW, including cluster munition, are reduce.
  2. Comprehensive support is provided by national and international actors to mine and ERW victims within broader responses to injury and disability.
  3. The transfer of mine action functions to national actors is accelerated, with national capacity to fulfill mine action responsibilities increased.
  4. Mine action is promoted and integrated in multilateral instruments and framework as well as national plans and legislation.
วัตถุประสงค์
  1. ลดความเสี่ยงของประชาชนและลดผลกระทบที่มีต่อภาคสังคมและเศรษฐกิจจากภัยของทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม รวมทั้งระเบิดพวง 
  2. จัดให้มีการสนับสนุนด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงครามอย่างทั่วถึง และสามารถสนองตอบความต้องการของผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดที่ได้รับการบาดเจ็บและพิการอย่างแท้จริง โดยองค์กรระดับชาติและระหว่างประเทศ 
  3. เร่งรัดและยกระดับการปฏิบัติการทุ่นระเบิดให้เป็นการปฏิบัติการในระดับชาติ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบมากขึ้น และมีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย
  4. ส่งเสริมและบรูณการการปฏิบัติการทุ่นระเบิด โดยใช้เครื่องมือและโครงสร้างการทำงานอย่างหลากหลาย เช่นเดียวกับแผนและกฎหมายในระดับชาติ
(อ่านเพิ่มเติม)

********************************************
ชาติชยา ศึกษิต : 3 ต.ค.2557

ที่มา :
United Nation Mine Action Service. (2014). The Strategy of The United Nations on mine action 2013-2018.[Online]. Available : http://www.mineaction.org/sites/default/files/publications/mine_action_strategy_mar15.pdf
[2557.ตุลาคม 3].

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผลการปรับลดพื้นที่อันตรายฯ ของหน่วย HDO ในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2557


พื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิดที่สามารถปรับลดให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
พื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด (CHA) ตามที่หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมต่างๆ ในประเทศไทยได้รายงานขอปลดปล่อยพื้นที่อันตรายให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย (Released area report) โดยผ่านการตรวจสอบและประเมินผลให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย (QC) จาก ศทช.ฯ เรียบร้อยแล้ว ในปีงบประมาณ 2557 สามารถดำเนินการได้ทั้งสิ้น  26,627,315 ตร.ม. รายละเอียดตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 พื้นที่ CHA ที่สามารถปรับลดให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2557
พื้นที่
ปีงบประมาณ 2557
พื้นที่ปรับลด
(ตามแผน)(ตร.ม.)
พื้นที่ปรับลด
(ปฏิบัติจริง) (ตร.ม.)
สูง(+) หรือ
ต่ำ (-) กว่าแผน (ตร.ม.)
คิดเป็นร้อยละ
หมายเหตุ
นปท.1
3,009,224
1,350,775
-1,658,449
-55.11

นปท.2
4,585,925
4,815,427
+229,502
+5.00

นปท.3
9,162,838
7,375,105
-1,787,733
-19.51

นปท.4
11,092,834
9,607,419
-1,485,415
-13.39

NPA
2,919,196
3,041,417
+122,221
+4.18

APOPO-PRO
97,479
97,479
-
-

TDA

339,571
+339,571
+100

TMAC

122
+122
+100

 รวม
30,867,496
26,627,315
-4,195,181
-13.74













สรุปพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด (CHA) ที่สามารถปรับลดให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2557 และทำการส่งมอบคืนให้แก่ผู้ใช้ประโยชน์ได้จำนวนทั้งสิ้น 26,627,315 ตร.ม. (26.62 ตร.กม.หรือ 16,642 ไร่เศษ) โดยพื้นที่ที่ทำการส่งมอบและประกาศรับรองเป็นพื้นที่ปลอดภัย สามารถจำแนกออกได้จำนวน 10 จังหวัด ดังแสดงไว้ตารางที่ 2


ตารางที่ 2 พื้นที่ปลอดภัยและทำการส่งมอบคืนให้แก่ผู้ใช้ประโยชน์ ประจำปีงบประมาณ 2557 แยกรายจังหวัด เรียงจากมากไปหาน้อย
ลำดับ
เขตพื้นที่
พื้นที่ส่งมอบ(ตร.ม.)
1
จ.เชียงใหม่
6,404,322
2
จ.อุบลราชธานี
5,316,155
3
จ.พะเยา
4,808,714
4
จ.ตราด
4,690,756
5
จ.ศรีสะเกษ
2,156,429
6
จ.น่าน
1,435,800
7
จ.สระแก้ว
1,350,775
8
จ.สุรินทร์
339,571
9
จ.จันทบุรี
124,671
10
จ.นครศรีธรรมราช
122

รวมทั้งสิ้น
26,627,315


สรุป
ปีงบประมาณ 2557 หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1-4 และองค์กรปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ไม่ใช่ของรัฐ (NGO) ได้ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการปรับลดพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด (CHA) ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 30.86 ตร.กม. แต่ด้วยความยากลำบากในการเดินทางเข้าพื้นที่ประกอบกับพื้นที่ CHA ส่วนใหญ่เป็นป่าหนาแน่นและมีความลาดชันสูง งบปฏิบัติการที่แต่ละ นปท.ได้รับก็ลดลง ส่งผลให้งานการปรับลดพื้นที่ปลอดภัยในปีนี้ ต่ำกว่าแผนถึง 4.19 ตร.กม. ในปีงบประมาณ 2557 ประเทศไทยได้พื้นที่ปลอดภัยกลับคืนมาเพียง 26.62 ตร.กม. 

สรุป ณ วันที่ 30 ก.ย.2557 ประเทศไทยยังคงเหลือพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด จำนวนทั้งสิ้น 476.10 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด



******************************
ข้อมูลจาก  
ส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล. (2557). รายงานผลงานของส่วนประสานการปฏฺิบัติและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ : ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ.

SMART TMAC (นายเท่ ทีแม็ค)



....ทุกคนที่มาปฏฺิบัติงานใน TMAC ควรมีลักษณะพึงประสงค์เช่นนี้  ผืนธงชาติไทยและอาร์มของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ที่ติดอยู่บนไหล่เธอทั้งสองข้าง จึงจะมีคุณค่าเพียงพอสำหรับเธอ อย่ามาเป็นเหลือบเกาะกิน TMAC เพื่อรับสิทธิแค่วันทวีคูณและรับค่าเลี้ยงดูไปวันๆ มันเป็นการเอาเปรียบกำลังพลอื่นๆ ที่เขาไม่มีโอกาส.... 

อ่านทั้งหมด