วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มสีส้ม

หลังจากอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) มีผลบังคับใช้แล้ว การสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดในประเทศไทย (Land Impact Survey : LIS) อย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในเดือน พ.ค.2543 โดยศูนย์ปฏิบัติการสำรวจ (Survey Action Center : SAC) เป็นผู้ปฏิบัติการสำรวจ มีองค์การเพื่อความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ (Norwegian People’s Aid : NPA) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการสำรวจ การสำรวจเสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย.2545


วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

Landmine Monitor 2015 @Thailand

องค์กรสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด (International Campaign to Ban Landmines : ICBL) เป็นเครือข่ายระดับโลก ทำงานในพื้นที่กว่า 100 ประเทศ ในการรณรงค์ต่อต้านทุ่นระเบิดและกับระเบิด ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ.2540  ICBL จัดทำรายงาน "Landmine Monitor" เป็นประจำทุกปีตั้งแต่เริ่มอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) เป็นต้นมา เพื่อรายงานผลการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ ของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมเป็นรัฐภาคี




ข้อมูลเมื่อเดือน พ.ย.2558 มีประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาออตตาวา จำนวน 162 ประเทศ โดยประเทศที่ไม่ยอมลงนามมีอีกประมาณ 34 ประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเทศที่ยังคงผลิตทุ่นระเบิดสังหารบุคคลอยู่  เท่าที่ผมรู้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เวียดนาม  รัสเซีย อิสราเอล เป็นต้น 

หากมองใกล้ตัวเราในส่วนของประชาคมอาเซียน ประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคีมี 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิบปินส์ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศไม่ได้ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม 

ในรายงาน Landmine Monitor 2015 ผลการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐภาคี ถูกรายงานไว้ดังนี้

ประเทศที่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเก็บไว้เพื่อการฝึกเกิน 1,000 ทุ่น
ประเทศไทยถูกจัดลำดับใน 38 ประเทศว่าเป็นประเทศที่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลสะสมไว้เพื่อการฝึกเกิน 1000 ทุ่น โดยลำดับ 1 คือประเทศฟินแลนด์ เก็บไว้ 16,500 ทุ่น รองลงมาลำดับ 2 ประเทศตุรกี เก็บไว้ 14,902 ทุ่น ประเทศไทย ลำดับที่ 16 เก็บไว้ 3,208 ทุ่น ประเทศกัมพูชา ลำดับที่ 20 เก็บไว้ 2,747 ทุ่น

นอกจากนั้นประเทศไทยยังถูกจัดว่าเป็น 3 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิด มากกว่า 100 ตร.กม.ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้และภาคพื้นแปซิฟิค ซึ่งมีอยู่ 3 ประเทศ คือ อัฟกานิสสถาน กัมพูชา และไทย

การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
ประเทศที่น่าจับตามองเรื่องความคืบหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยเรื่องการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด มีอยู่จำนวน 33 ประเทศ ทั้งหมดเป็นประเทศที่ได้เคยขอต่อระยะเวลาการเก็บกู้ทุ่นระเบิดมาแล้วครั้งที่ 1 และกำลังจะใกล้สิ้นสุดระยะเวลาตามที่ขอไว้ 

ประเทศไทยหลังจากลงนามในอนุสัญญาออตตวาฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 พ.ค.2542 ประเทศไทยต้องค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิดที่มีให้หมดในวันที่ 1 พ.ค.2552 (10 ปี หลังเริ่มสัญญา) แต่ประเทศไทยทำไม่สำเร็จ จึงขอขยายระยะเวลาต่อไปอีก 9.5 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 1 พ.ย.2561 

ในปัจจุบันสถานะของประเทศไทยถูกระบุว่า  "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) 

ความพยายามในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด
ประเทศไทยมีการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายของผู้พิการจากทุ่นระเบิด มีแผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ชัดเจน ผู้ที่รอดชีวิตมีส่วนร่วมในการดำเนินการ แต่ยังขาดกลไกในการประสานงานที่จะนำเสนอความต้องการของผู้รอดชีวิตถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เงินสนับสนุนจากผู้บริจาค
ในปี พ.ศ.2558 มีผู้บริจาคเงินสนับสนุนการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมทั่วโลก รวมถึง $416.8 ล้าน คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 14,554,657,387.00 บาท ประกอบด้วย ประเทศที่เป็นรัฐภาคี 26 ประเทศ และ ประเทศที่ไม่เป็นรัฐภาคี 3 ประเทศ The EU และ 3 สถาบันระดับนานาชาติ 


5 อันดับแรกที่บริจาคเงินสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ($118.01) รองลงมา The EU ($66.8) ตามด้วย ญีุ่่ปุ่น ($49.1) นอร์เวย์ ($41.8) และเนเธอแลนด์ ($25.9) ส่วนประเทศอื่นๆ ดูตามตารางด้านบน  

การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยในปี พ.ศ.2558 ก็ได้อานิสงส์จากเงินบริจาคดังกล่าวข้างต้นเหมือนกัน คือ
  • ประเทศนอร์เวย์ ผ่านองค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) Thailand (ไม่ทราบจำนวน)
  • ประเทศญี่ปุ่น ผ่านโครงการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (Grant Assistance for Grassroots Human Security Projects : GGP)  จำนวน $342,385.42 (ประมาณ 11.9 ล้านบาท) ให้แก่ มูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ (Peace Road Organization Foundation : PRO ) 
  • ประเทศญี่ปุ่น ผ่านกองทุนเพื่อบูรณาการระหว่างญี่ปุ่น-อาเซี่ยน (JAPAN-ASEAN Integration Fund : JAIF)  จำนวน $473,055.96 (ประมาณ 15.4 ล้านบาท) ให้แก่ สมาคมผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดพลเรือนไทย (Thai Civilian Deminer Association : TDA) 
จากการรายงานของ ICBL  ระบุว่า เงินบริจาคจำนวน $416.8 ล้าน สนับสนุนให้ประเทศไทย จำนวน $1.0 ล้าน ส่วนเพื่อนบ้านในอาเซียนของเรา  ลาวได้รับ $37.3 ล้าน กัมพูชาได้รับ $30.3 ล้าน เวียดนามได้รับ $14.3 ล้าน   เมียนมาได้รับ $5.7 ล้าน 

เงินบริจาคในปี 2558 จำนวน $416.8 ล้าน สามารถจำแนกการสนับสนุนงานด้านต่างๆ ได้ดังนี้
  • งานด้านการกวาดล้างและการแจ้งเตือนให้ความรู้ฯ $281.8 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 68
  • งานด้านอื่นๆ $68.5 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 16
  • งานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด $27.7 คิดเป็นร้อยละ 7
  • งานด้านทนายและกฏหมาย $20.7 คิดเป็นร้อยละ 5
  • งานด้านการเพิ่มขีดความสามารถ $14.9 คิดเป็นร้อยละ 4
  • งานด้านการทำลายทุ่นระเบิด $3.2 คิดเป็นร้อยละไม่ถึง 1
สรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยในการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ที่ระบุไว้ในรายงาน "Landmine Monitor 2015" มีเพียงเท่านี้ หากท่านผู้อ่านสนใจค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซต์ 

Landmine Monitor 2015

ที่อยู่ http://www.the-monitor.org/en-gb/reports/2015/landmine-monitor-2015.aspx

******************
ชาติชาย คเชนชล : 23 มี.ค.2559

การปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของไทยในสายตา NPA : NGO ระดับนานาชาติ

องค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) ซึ่งเป็น NGO ระดับนานาชาติองค์กรหนึ่งของโลกใบนี้ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ แจ้งเตือน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด/กับระเบิด และการลดอาวุธทุกรูปแบบ ได้จัดทำรายงานชื่อว่า "Clearing The Mines"  แจกจ่ายในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ครั้งที่ 14 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.2558 ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย พอจะสรุปให้ฟังเพื่อประดับความรู้ได้ดังนี้




ในอนุสัญญาออตตาวา มีประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ณ ปัจจุบัน จำนวน 162 ประเทศ โดยประเทศในประชาคมอาเซียนที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิบปินส์ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศไม่ได้ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม  

ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้อยู่ใน 10 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดมากที่สุดในโลก อันได้แก่ Afghanistan Angola Bosnia and Herzegovina Cambodia Chad Croatia Iraq Thailand Turkey และ Zimbabwe
(ข้อมูล เดือน พ.ย.2558) 

การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
ด้านความคืบหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยเรื่องการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด : ประเทศไทยถูกระบุว่าไม่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานดังกล่าว โดยผู้นำทางการเมืองยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ขาดการสนับสนุนงบประมาณและการระดมทุนที่จำเป็นในการดำเนินงาน นอกจากนั้นสถานะของประเทศไทยถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) (ประเทศไทยจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 พ.ย.2561)

การจัดอันดับประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศ
NPA ได้จัดเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศในด้านการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา โดยมีเกณฑ์และตัวชี้วัดใน 10 ด้าน ใน
แต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้
    • ด้านที่ 1 ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด 
    • ด้านที่ 2 แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    • ด้านที่ 3 การกำหนดเป้​​าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    • ด้านที่ 4 ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    • ด้านที่ 5 การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
    • ด้านที่ 6 กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
    • ด้านที่ 7 ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
    • ด้านที่ 8 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
    • ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
    • ด้านที่ 10 การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
    ซึ่งทั้ง 10 ด้านนี้ เหมือนกับทีมตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของ International Campaign to Ban Landmines (ICBL) ที่ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นตาม "โครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิด " ของประเทศต่างๆ ที่เป็นรัฐภาคีตามอนุสัญญาออตตาวา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 (ดูรายละเอียด)

    เกณฑ์การแปลความหมาย

    • คะแนนเฉลี่ย 0.0-3.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อยมาก 
    • คะแนนเฉลี่ย 4.0-4.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อย 
    • คะแนนเฉลี่ย 5.0-6.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพปานกลาง 
    • คะแนนเฉลี่ย 7.0 หรือสูงกว่า หมายถึง มีประสิทธิภาพมาก
    ตารางแสดงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศไทยตามอนุสัญญาออตตาวา ปี พ.ศ.2556 และ 2557 โดย NPA 

    ลำดับ
    ด้าน
    ประเทศไทย
    พ.ศ.2556 (2013)
    พ.ศ.2557 (2014)
    คะแนน
    ประสิทธิภาพ
    คะแนน
    ประสิทธิภาพ
    1
    ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด  
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    2
    แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    3
    การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    5
    ปานกลาง
    7
    มาก
    4
    ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    5
    ปานกลาง
    6
    ปานกลาง
    5
    การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
    5
    ปานกลาง
    5
    ปานกลาง
    6
    กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    7
    ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
    6
    ปานกลาง
    7
    มาก
    8
    การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
    6
    ปานกลาง
    7
    มาก
    9
    รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    10
    การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน12 เดือนที่ผ่านมา)
    7
    มาก
    6
    มาก
    รวม
    5.0
    ปานกลาง
    5.8
    ปานกลาง

    ค่าเฉลี่ยในภาพรวม
    7
    มาก
    6.7
    ปานกลาง

    ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของประเทศไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาพรวมทั้ง 2 ปี
    • ปี พ.ศ.2556 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 7 คะแนน ไทยได้ 5 คะแนน
    • ปี พ.ศ.2557 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 6.7 คะแนน ไทยได้ 5.8 คะแนน
    ลองมาดูประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างเช่น กัมพูชา  ดูบ้าง ว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน จะได้เป็นตัวเทียบเคียงให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตามภาพด้านล่าง



    สถานะของประเทศกัมพูชาถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) เช่นเดียวกับประเทศไทย (ประเทศกัมพูชาจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 ม.ค.2563) แต่ภาพรวมของการปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2557 ประเทศกัมพูชาได้คะแนน 6.6 มากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยได้คะแนนเพียง 5.8 หากดูในแต่ละด้านแล้ว มีด้านเดียวที่ประเทศกัมพูชาได้คะแนนต่ำกว่าไทย คือ ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา ส่วนด้านที่เหลือเท่ากันและส่วนใหญ่จะมากกว่าไทย 

    ข้อมูลที่นำมาสรุปให้ฟังนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริหารระดับนโบายและแผน รวมทั้งหน่วยปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ" ได้พึงตระหนักและพยายามหาวิธีการที่จะกลับมาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน (On track) มากกว่าที่ประเทศไทยจะถูกตราหน้าว่า "Not on track" ไปตลอด จนกว่าจะสิ้นสุดอนุสัญญาออตตาวา 

    ผมคิดว่า ยังไม่สายเกินไป

    *****************
    จุฑาคเชน : 22 มี.ค.2559

    วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

    เฮง รัตนา กับงานการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมไทย-กัมพูชา

    ผมได้มีโอกาสเห็นการทำงานของ ฯพณฯ เฮง รัตนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (H.E.HENG Ratana, Director of the cambodian Mine Action Centre : CMAC) จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2559 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสเตชั่นวัน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว