หลังจากอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) มีผลบังคับใช้แล้ว การสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิดในประเทศไทย (Land Impact Survey : LIS) อย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในเดือน พ.ค.2543 โดยศูนย์ปฏิบัติการสำรวจ (Survey Action Center : SAC) เป็นผู้ปฏิบัติการสำรวจ มีองค์การเพื่อความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ (Norwegian People’s Aid : NPA) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการสำรวจ การสำรวจเสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย.2545
หน้าเว็บ
- หน้าแรก
- เกี่ยวกับ HDO THAILAND
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- CoeD-TMAC
- My life in TMAC
- MRE
- Mine Action Library
- ปฏิทินกิจกรรม HDO Thailand
- กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด
- บัญชีเงินกองทุน HDO THAILAND
- ผลิตภัณฑ์กองทุน HDO
- อนุสัญญาออตตาวา
- บันทึกการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด
- IED THAILAND
- ทำเนียบหน่วย (EOD) ในประเทศไทย
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559
Landmine Monitor 2015 @Thailand
องค์กรสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด (International Campaign to Ban Landmines : ICBL) เป็นเครือข่ายระดับโลก ทำงานในพื้นที่กว่า 100 ประเทศ ในการรณรงค์ต่อต้านทุ่นระเบิดและกับระเบิด ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ.2540 ICBL จัดทำรายงาน "Landmine Monitor" เป็นประจำทุกปีตั้งแต่เริ่มอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) เป็นต้นมา เพื่อรายงานผลการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ ของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมเป็นรัฐภาคี
ข้อมูลเมื่อเดือน พ.ย.2558 มีประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาออตตาวา จำนวน 162 ประเทศ โดยประเทศที่ไม่ยอมลงนามมีอีกประมาณ 34 ประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเทศที่ยังคงผลิตทุ่นระเบิดสังหารบุคคลอยู่ เท่าที่ผมรู้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เวียดนาม รัสเซีย อิสราเอล เป็นต้น
หากมองใกล้ตัวเราในส่วนของประชาคมอาเซียน ประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคีมี 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิบปินส์ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศไม่ได้ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม
ในรายงาน Landmine Monitor 2015 ผลการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐภาคี ถูกรายงานไว้ดังนี้
ประเทศที่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเก็บไว้เพื่อการฝึกเกิน 1,000 ทุ่น
ประเทศไทยถูกจัดลำดับใน 38 ประเทศว่าเป็นประเทศที่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลสะสมไว้เพื่อการฝึกเกิน 1000 ทุ่น โดยลำดับ 1 คือประเทศฟินแลนด์ เก็บไว้ 16,500 ทุ่น รองลงมาลำดับ 2 ประเทศตุรกี เก็บไว้ 14,902 ทุ่น ประเทศไทย ลำดับที่ 16 เก็บไว้ 3,208 ทุ่น ประเทศกัมพูชา ลำดับที่ 20 เก็บไว้ 2,747 ทุ่น
นอกจากนั้นประเทศไทยยังถูกจัดว่าเป็น 3 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิด มากกว่า 100 ตร.กม.ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้และภาคพื้นแปซิฟิค ซึ่งมีอยู่ 3 ประเทศ คือ อัฟกานิสสถาน กัมพูชา และไทย
การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
ข้อมูลเมื่อเดือน พ.ย.2558 มีประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาออตตาวา จำนวน 162 ประเทศ โดยประเทศที่ไม่ยอมลงนามมีอีกประมาณ 34 ประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเทศที่ยังคงผลิตทุ่นระเบิดสังหารบุคคลอยู่ เท่าที่ผมรู้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เวียดนาม รัสเซีย อิสราเอล เป็นต้น
หากมองใกล้ตัวเราในส่วนของประชาคมอาเซียน ประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคีมี 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิบปินส์ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศไม่ได้ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม
ในรายงาน Landmine Monitor 2015 ผลการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐภาคี ถูกรายงานไว้ดังนี้
ประเทศที่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเก็บไว้เพื่อการฝึกเกิน 1,000 ทุ่น
ประเทศไทยถูกจัดลำดับใน 38 ประเทศว่าเป็นประเทศที่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลสะสมไว้เพื่อการฝึกเกิน 1000 ทุ่น โดยลำดับ 1 คือประเทศฟินแลนด์ เก็บไว้ 16,500 ทุ่น รองลงมาลำดับ 2 ประเทศตุรกี เก็บไว้ 14,902 ทุ่น ประเทศไทย ลำดับที่ 16 เก็บไว้ 3,208 ทุ่น ประเทศกัมพูชา ลำดับที่ 20 เก็บไว้ 2,747 ทุ่น
นอกจากนั้นประเทศไทยยังถูกจัดว่าเป็น 3 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิด มากกว่า 100 ตร.กม.ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้และภาคพื้นแปซิฟิค ซึ่งมีอยู่ 3 ประเทศ คือ อัฟกานิสสถาน กัมพูชา และไทย
การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
ประเทศที่น่าจับตามองเรื่องความคืบหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยเรื่องการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด มีอยู่จำนวน 33 ประเทศ ทั้งหมดเป็นประเทศที่ได้เคยขอต่อระยะเวลาการเก็บกู้ทุ่นระเบิดมาแล้วครั้งที่ 1 และกำลังจะใกล้สิ้นสุดระยะเวลาตามที่ขอไว้
ประเทศไทยหลังจากลงนามในอนุสัญญาออตตวาฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 พ.ค.2542 ประเทศไทยต้องค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิดที่มีให้หมดในวันที่ 1 พ.ค.2552 (10 ปี หลังเริ่มสัญญา) แต่ประเทศไทยทำไม่สำเร็จ จึงขอขยายระยะเวลาต่อไปอีก 9.5 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 1 พ.ย.2561
ในปัจจุบันสถานะของประเทศไทยถูกระบุว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track)
ความพยายามในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด
ประเทศไทยหลังจากลงนามในอนุสัญญาออตตวาฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ 1 พ.ค.2542 ประเทศไทยต้องค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิดที่มีให้หมดในวันที่ 1 พ.ค.2552 (10 ปี หลังเริ่มสัญญา) แต่ประเทศไทยทำไม่สำเร็จ จึงขอขยายระยะเวลาต่อไปอีก 9.5 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 1 พ.ย.2561
ในปัจจุบันสถานะของประเทศไทยถูกระบุว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track)
ความพยายามในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด
ประเทศไทยมีการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายของผู้พิการจากทุ่นระเบิด มีแผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ชัดเจน ผู้ที่รอดชีวิตมีส่วนร่วมในการดำเนินการ แต่ยังขาดกลไกในการประสานงานที่จะนำเสนอความต้องการของผู้รอดชีวิตถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
เงินสนับสนุนจากผู้บริจาค
ในปี พ.ศ.2558 มีผู้บริจาคเงินสนับสนุนการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมทั่วโลก รวมถึง $416.8 ล้าน คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 14,554,657,387.00 บาท ประกอบด้วย ประเทศที่เป็นรัฐภาคี 26 ประเทศ และ ประเทศที่ไม่เป็นรัฐภาคี 3 ประเทศ The EU และ 3 สถาบันระดับนานาชาติ
5 อันดับแรกที่บริจาคเงินสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ($118.01) รองลงมา The EU ($66.8) ตามด้วย ญีุ่่ปุ่น ($49.1) นอร์เวย์ ($41.8) และเนเธอแลนด์ ($25.9) ส่วนประเทศอื่นๆ ดูตามตารางด้านบน
การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยในปี พ.ศ.2558 ก็ได้อานิสงส์จากเงินบริจาคดังกล่าวข้างต้นเหมือนกัน คือ
เงินสนับสนุนจากผู้บริจาค
ในปี พ.ศ.2558 มีผู้บริจาคเงินสนับสนุนการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมทั่วโลก รวมถึง $416.8 ล้าน คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 14,554,657,387.00 บาท ประกอบด้วย ประเทศที่เป็นรัฐภาคี 26 ประเทศ และ ประเทศที่ไม่เป็นรัฐภาคี 3 ประเทศ The EU และ 3 สถาบันระดับนานาชาติ
การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยในปี พ.ศ.2558 ก็ได้อานิสงส์จากเงินบริจาคดังกล่าวข้างต้นเหมือนกัน คือ
- ประเทศนอร์เวย์ ผ่านองค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) Thailand (ไม่ทราบจำนวน)
- ประเทศญี่ปุ่น ผ่านโครงการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (Grant Assistance for Grassroots Human Security Projects : GGP) จำนวน $342,385.42 (ประมาณ 11.9 ล้านบาท) ให้แก่ มูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ (Peace Road Organization Foundation : PRO )
- ประเทศญี่ปุ่น ผ่านกองทุนเพื่อบูรณาการระหว่างญี่ปุ่น-อาเซี่ยน (JAPAN-ASEAN Integration Fund : JAIF) จำนวน $473,055.96 (ประมาณ 15.4 ล้านบาท) ให้แก่ สมาคมผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดพลเรือนไทย (Thai Civilian Deminer Association : TDA)
จากการรายงานของ ICBL ระบุว่า เงินบริจาคจำนวน $416.8 ล้าน สนับสนุนให้ประเทศไทย จำนวน $1.0 ล้าน ส่วนเพื่อนบ้านในอาเซียนของเรา ลาวได้รับ $37.3 ล้าน กัมพูชาได้รับ $30.3 ล้าน เวียดนามได้รับ $14.3 ล้าน เมียนมาได้รับ $5.7 ล้าน
เงินบริจาคในปี 2558 จำนวน $416.8 ล้าน สามารถจำแนกการสนับสนุนงานด้านต่างๆ ได้ดังนี้
- งานด้านการกวาดล้างและการแจ้งเตือนให้ความรู้ฯ $281.8 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 68
- งานด้านอื่นๆ $68.5 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 16
- งานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด $27.7 คิดเป็นร้อยละ 7
- งานด้านทนายและกฏหมาย $20.7 คิดเป็นร้อยละ 5
- งานด้านการเพิ่มขีดความสามารถ $14.9 คิดเป็นร้อยละ 4
- งานด้านการทำลายทุ่นระเบิด $3.2 คิดเป็นร้อยละไม่ถึง 1
Landmine Monitor 2015
ที่อยู่ http://www.the-monitor.org/en-gb/reports/2015/landmine-monitor-2015.aspx
******************
ชาติชาย คเชนชล : 23 มี.ค.2559
******************
ชาติชาย คเชนชล : 23 มี.ค.2559
ป้ายกำกับ:
การปฏิบัติงาน,
HDO IN THAILAND,
ICBL,
JAPAN,
NPA,
PRO,
TDA,
UN
การปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของไทยในสายตา NPA : NGO ระดับนานาชาติ
องค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) ซึ่งเป็น NGO ระดับนานาชาติองค์กรหนึ่งของโลกใบนี้ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ แจ้งเตือน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด/กับระเบิด และการลดอาวุธทุกรูปแบบ ได้จัดทำรายงานชื่อว่า "Clearing The Mines" แจกจ่ายในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ครั้งที่ 14 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.2558 ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย พอจะสรุปให้ฟังเพื่อประดับความรู้ได้ดังนี้
การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
เกณฑ์การแปลความหมาย
ในอนุสัญญาออตตาวา มีประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ณ ปัจจุบัน จำนวน 162 ประเทศ โดยประเทศในประชาคมอาเซียนที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิบปินส์ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศไม่ได้ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม
ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้อยู่ใน 10 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดมากที่สุดในโลก อันได้แก่ Afghanistan Angola Bosnia and Herzegovina Cambodia Chad Croatia Iraq Thailand Turkey และ Zimbabwe
(ข้อมูล เดือน พ.ย.2558) ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้อยู่ใน 10 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดมากที่สุดในโลก อันได้แก่ Afghanistan Angola Bosnia and Herzegovina Cambodia Chad Croatia Iraq Thailand Turkey และ Zimbabwe
การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
ด้านความคืบหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยเรื่องการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด : ประเทศไทยถูกระบุว่าไม่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานดังกล่าว โดยผู้นำทางการเมืองยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ขาดการสนับสนุนงบประมาณและการระดมทุนที่จำเป็นในการดำเนินงาน นอกจากนั้นสถานะของประเทศไทยถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) (ประเทศไทยจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 พ.ย.2561)
การจัดอันดับประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศ
NPA ได้จัดเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศในด้านการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา โดยมีเกณฑ์และตัวชี้วัดใน 10 ด้าน ในแต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้
การจัดอันดับประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศ
NPA ได้จัดเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศในด้านการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา โดยมีเกณฑ์และตัวชี้วัดใน 10 ด้าน ในแต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้
- ด้านที่ 1 ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด
- ด้านที่ 2 แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
- ด้านที่ 3 การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
- ด้านที่ 4 ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
- ด้านที่ 5 การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
- ด้านที่ 6 กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
- ด้านที่ 7 ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
- ด้านที่ 8 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
- ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
- ด้านที่ 10 การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
เกณฑ์การแปลความหมาย
- คะแนนเฉลี่ย 0.0-3.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อยมาก
- คะแนนเฉลี่ย 4.0-4.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อย
- คะแนนเฉลี่ย 5.0-6.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพปานกลาง
- คะแนนเฉลี่ย 7.0 หรือสูงกว่า หมายถึง มีประสิทธิภาพมาก
ลำดับ
|
ด้าน
|
ประเทศไทย
|
|||
พ.ศ.2556 (2013)
|
พ.ศ.2557 (2014)
|
||||
คะแนน
|
ประสิทธิภาพ
|
คะแนน
|
ประสิทธิภาพ
|
||
1
|
ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
2
|
แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
3
|
การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
|
5
|
ปานกลาง
|
7
|
มาก
|
4
|
ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
|
5
|
ปานกลาง
|
6
|
ปานกลาง
|
5
|
การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
|
5
|
ปานกลาง
|
5
|
ปานกลาง
|
6
|
กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
7
|
ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
|
6
|
ปานกลาง
|
7
|
มาก
|
8
|
การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ
(NMAS)
|
6
|
ปานกลาง
|
7
|
มาก
|
9
|
รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
10
|
การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
(ภายใน12 เดือนที่ผ่านมา)
|
7
|
มาก
|
6
|
มาก
|
รวม
|
5.0
|
ปานกลาง
|
5.8
|
ปานกลาง
|
|
ค่าเฉลี่ยในภาพรวม
|
7
|
มาก
|
6.7
|
ปานกลาง
|
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของประเทศไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาพรวมทั้ง 2 ปี
- ปี พ.ศ.2556 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 7 คะแนน ไทยได้ 5 คะแนน
- ปี พ.ศ.2557 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 6.7 คะแนน ไทยได้ 5.8 คะแนน
สถานะของประเทศกัมพูชาถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) เช่นเดียวกับประเทศไทย (ประเทศกัมพูชาจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 ม.ค.2563) แต่ภาพรวมของการปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2557 ประเทศกัมพูชาได้คะแนน 6.6 มากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยได้คะแนนเพียง 5.8 หากดูในแต่ละด้านแล้ว มีด้านเดียวที่ประเทศกัมพูชาได้คะแนนต่ำกว่าไทย คือ ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา ส่วนด้านที่เหลือเท่ากันและส่วนใหญ่จะมากกว่าไทย
ข้อมูลที่นำมาสรุปให้ฟังนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริหารระดับนโบายและแผน รวมทั้งหน่วยปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ" ได้พึงตระหนักและพยายามหาวิธีการที่จะกลับมาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน (On track) มากกว่าที่ประเทศไทยจะถูกตราหน้าว่า "Not on track" ไปตลอด จนกว่าจะสิ้นสุดอนุสัญญาออตตาวา
ผมคิดว่า ยังไม่สายเกินไป
*****************
จุฑาคเชน : 22 มี.ค.2559
ข้อมูลที่นำมาสรุปให้ฟังนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริหารระดับนโบายและแผน รวมทั้งหน่วยปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ" ได้พึงตระหนักและพยายามหาวิธีการที่จะกลับมาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน (On track) มากกว่าที่ประเทศไทยจะถูกตราหน้าว่า "Not on track" ไปตลอด จนกว่าจะสิ้นสุดอนุสัญญาออตตาวา
ผมคิดว่า ยังไม่สายเกินไป
*****************
จุฑาคเชน : 22 มี.ค.2559
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
เฮง รัตนา กับงานการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมไทย-กัมพูชา
ผมได้มีโอกาสเห็นการทำงานของ ฯพณฯ เฮง รัตนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (H.E.HENG Ratana, Director of the cambodian Mine Action Centre : CMAC) จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2559 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสเตชั่นวัน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)