องค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) ซึ่งเป็น NGO ระดับนานาชาติองค์กรหนึ่งของโลกใบนี้ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ แจ้งเตือน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด/กับระเบิด และการลดอาวุธทุกรูปแบบ ได้จัดทำรายงานชื่อว่า "Clearing The Mines" แจกจ่ายในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ครั้งที่ 14 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.2558 ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย พอจะสรุปให้ฟังเพื่อประดับความรู้ได้ดังนี้
การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
เกณฑ์การแปลความหมาย
ในอนุสัญญาออตตาวา มีประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ณ ปัจจุบัน จำนวน 162 ประเทศ โดยประเทศในประชาคมอาเซียนที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิบปินส์ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศไม่ได้ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม
ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้อยู่ใน 10 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดมากที่สุดในโลก อันได้แก่ Afghanistan Angola Bosnia and Herzegovina Cambodia Chad Croatia Iraq Thailand Turkey และ Zimbabwe
(ข้อมูล เดือน พ.ย.2558) ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้อยู่ใน 10 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดมากที่สุดในโลก อันได้แก่ Afghanistan Angola Bosnia and Herzegovina Cambodia Chad Croatia Iraq Thailand Turkey และ Zimbabwe
การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
ด้านความคืบหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยเรื่องการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด : ประเทศไทยถูกระบุว่าไม่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานดังกล่าว โดยผู้นำทางการเมืองยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ขาดการสนับสนุนงบประมาณและการระดมทุนที่จำเป็นในการดำเนินงาน นอกจากนั้นสถานะของประเทศไทยถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) (ประเทศไทยจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 พ.ย.2561)
การจัดอันดับประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศ
NPA ได้จัดเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศในด้านการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา โดยมีเกณฑ์และตัวชี้วัดใน 10 ด้าน ในแต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้
การจัดอันดับประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศ
NPA ได้จัดเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศในด้านการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา โดยมีเกณฑ์และตัวชี้วัดใน 10 ด้าน ในแต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้
- ด้านที่ 1 ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด
- ด้านที่ 2 แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
- ด้านที่ 3 การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
- ด้านที่ 4 ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
- ด้านที่ 5 การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
- ด้านที่ 6 กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
- ด้านที่ 7 ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
- ด้านที่ 8 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
- ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
- ด้านที่ 10 การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
เกณฑ์การแปลความหมาย
- คะแนนเฉลี่ย 0.0-3.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อยมาก
- คะแนนเฉลี่ย 4.0-4.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อย
- คะแนนเฉลี่ย 5.0-6.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพปานกลาง
- คะแนนเฉลี่ย 7.0 หรือสูงกว่า หมายถึง มีประสิทธิภาพมาก
ลำดับ
|
ด้าน
|
ประเทศไทย
|
|||
พ.ศ.2556 (2013)
|
พ.ศ.2557 (2014)
|
||||
คะแนน
|
ประสิทธิภาพ
|
คะแนน
|
ประสิทธิภาพ
|
||
1
|
ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
2
|
แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
3
|
การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
|
5
|
ปานกลาง
|
7
|
มาก
|
4
|
ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
|
5
|
ปานกลาง
|
6
|
ปานกลาง
|
5
|
การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
|
5
|
ปานกลาง
|
5
|
ปานกลาง
|
6
|
กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
7
|
ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
|
6
|
ปานกลาง
|
7
|
มาก
|
8
|
การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ
(NMAS)
|
6
|
ปานกลาง
|
7
|
มาก
|
9
|
รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
|
4
|
น้อย
|
5
|
ปานกลาง
|
10
|
การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
(ภายใน12 เดือนที่ผ่านมา)
|
7
|
มาก
|
6
|
มาก
|
รวม
|
5.0
|
ปานกลาง
|
5.8
|
ปานกลาง
|
|
ค่าเฉลี่ยในภาพรวม
|
7
|
มาก
|
6.7
|
ปานกลาง
|
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของประเทศไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาพรวมทั้ง 2 ปี
- ปี พ.ศ.2556 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 7 คะแนน ไทยได้ 5 คะแนน
- ปี พ.ศ.2557 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 6.7 คะแนน ไทยได้ 5.8 คะแนน
สถานะของประเทศกัมพูชาถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) เช่นเดียวกับประเทศไทย (ประเทศกัมพูชาจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 ม.ค.2563) แต่ภาพรวมของการปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2557 ประเทศกัมพูชาได้คะแนน 6.6 มากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยได้คะแนนเพียง 5.8 หากดูในแต่ละด้านแล้ว มีด้านเดียวที่ประเทศกัมพูชาได้คะแนนต่ำกว่าไทย คือ ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา ส่วนด้านที่เหลือเท่ากันและส่วนใหญ่จะมากกว่าไทย
ข้อมูลที่นำมาสรุปให้ฟังนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริหารระดับนโบายและแผน รวมทั้งหน่วยปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ" ได้พึงตระหนักและพยายามหาวิธีการที่จะกลับมาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน (On track) มากกว่าที่ประเทศไทยจะถูกตราหน้าว่า "Not on track" ไปตลอด จนกว่าจะสิ้นสุดอนุสัญญาออตตาวา
ผมคิดว่า ยังไม่สายเกินไป
*****************
จุฑาคเชน : 22 มี.ค.2559
ข้อมูลที่นำมาสรุปให้ฟังนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริหารระดับนโบายและแผน รวมทั้งหน่วยปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ" ได้พึงตระหนักและพยายามหาวิธีการที่จะกลับมาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน (On track) มากกว่าที่ประเทศไทยจะถูกตราหน้าว่า "Not on track" ไปตลอด จนกว่าจะสิ้นสุดอนุสัญญาออตตาวา
ผมคิดว่า ยังไม่สายเกินไป
*****************
จุฑาคเชน : 22 มี.ค.2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น