วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ICBL ประเมินประสิทธิภาพ HDO ไทย

โครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศรัฐภาคีตามอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา)

















ในปี พ.ศ.2557  ทีมตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของ International Campaign to Ban Landmines (ICBL) ได้คิดค้นและพัฒนา "โครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิด " ของประเทศต่างๆ ที่เป็นรัฐภาคีตามอนุสัญญาออตตาวา (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2557) ขึ้นเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการลงนามในอนุสัญญาออตตาวา โดยโครงการนี้ มีการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของแต่ละประเทศใน 10 ด้าน แต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้แก่ 

  1. ด้านที่ 1 ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด 
  2. ด้านที่ 2 แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  3. ด้านที่ 3 การกำหนดเป้​​าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
  4. ด้านที่ 4 ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
  5. ด้านที่ 5 การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
  6. ด้านที่ 6 กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
  7. ด้านที่ 7 ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
  8. ด้านที่ 8 การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
  9. ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
  10. ด้านที่ 10 การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
เกณฑ์การแปลความหมาย
  • คะแนนเฉลี่ย 0.0-3.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อยมาก 
  • คะแนนเฉลี่ย 4.0-4.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อย
  • คะแนนเฉลี่ย 5.0-6.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพปานกลาง
  • คะแนนเฉลี่ย 7.0 หรือสูงกว่า หมายถึง มีประสิทธิภาพมาก
ตารางเปรียบเทียบโครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศรัฐภาคีตามอนุสัญญาออตตาวา พ.ศ.2557 เฉพาะประเทศไทยและประเทศกัมพูชา
ลำดับ
ด้าน
ประเทศไทย
ประเทศกัมพูชา
คะแนน
ประสิทธิภาพ
คะแนน
ประสิทธิภาพ
1
ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด  
4
น้อย
3
น้อยมาก
2
แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
4
น้อย
7
มาก
3
การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
5
ปานกลาง
6
ปานกลาง
4
ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
5
ปานกลาง
6
ปานกลาง
5
การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
5
ปานกลาง
7
มาก
6
กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
4
น้อย
5
ปานกลาง
7
ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
6
ปานกลาง
6
ปานกลาง
8
การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
6
ปานกลาง
7
มาก
9
รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
4
น้อย
6
ปานกลาง
10
การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
7
มาก
7
มาก

รวม
5
ปานกลาง
6
ปานกลาง

ที่มา : ICBL. (2014). Mine Action Program Performance. [Online]. Available :  http://the-monitor.org/index.php/LM/Our-Research-Products/MARanking [2558.มีนาคม 19] 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น