การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Demining Operations : HDO) ในประเทศไทย เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 หลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาการห้ามใช้ ผลิต สะสม และโอนและทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือที่เรียกว่าอนุสัญญาออตตาวา
- งานแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากทุ่นระเบิด เพื่อป้องกันไม่ให้ราษฎรเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการเหยียบทุ่นระเบิด และตะหนักถึงพิษภัยของทุ่นระเบิด เมื่อพบเจอ อย่าจับ อย่าสัมผัส ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- งานค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดที่ตกค้างจากการสู้รบในอดีต
- งานช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด ให้มีความเป็นอยู่ในสังคมตามฐานะและตามสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับ
- พ.ศ.2484-2488 สงครามโลกครั้งที่ 2
- พ.ศ.2490-ปัจจุบัน ชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์
- พ.ศ.2492-2432 โจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา
- พ.ศ.2508-2525 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ.2518-2539 การรบของเขมรแดงและเวียดนาม
การแกะรอยทุ่นระเบิดครั้งแรก
หลังจากที่ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาออตาวา เมื่อปี พ.ศ.2542 ศูนย์ปฎิบัติการสำรวจ (Survey Action Center : SAC) ของสหประชาชาติ ได้คัดเลือกและมอบหมายให้ องค์การเพื่อความช่วยเหลือชาวนอร์เวย์ (NPA) ร่วมกับศูนย์ปฎิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (Thailand Mine Action Center : TMAC) ดำเนินการสำรวจเรื่องผลกระทบจากทุ่นระเบิดในประเทศไทยอยู่ประมาณ 2 ปี จนกระทั่งการสำรวจแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2545 พบว่า "มีพื้นที่ต้องสงสัยว่าจะมีทุ่นระเบิดอยู่จำนวน 933 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 2,556.7 ตร.กม. ใน 23 จังหวัด มีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจำนวน 530 หมู่บ้าน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยของราษฎรจำนวน 503,682 คน "
การสำรวจผลกระทบดังกล่าวใช้กำลังคนและทรัพยากรจำนวนมาก ลงพื้นที่จริง พูดคุยสนทนากับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่มากรอกแบบฟอร์มต่างๆ อย่างเป็นระบบ การสำรวจดังกล่าว ผมถือว่าเป็นการแกะรอยทุ่นระเบิดครั้งแรกในประเทศไทย
การค้นหาและเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ผ่านมา
การปฏิบัติภารกิจขององคกร HDO ต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา ถึงปัจจุบัน สามารถค้นหาและทำลายทุ่นระเบิดได้ ตามภาพที่แสดงไว้ด่านล่างนี้
ขอความกรุณา HDO ผู้มีประสบการณ์ ได้โปรดช่วยอนุเคราะห์ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของท่านให้แก่พวกเราฟังด้วย จักเป็นคุณูปการณ์อย่างยิ่งต่อวงการการปฏิบัติทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย (HDO in THAILAND) สืบต่อไป
*********************
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ : 27 ต.ค.2557
โทร. 081-434-8777
อีเมล์ s463368@gmail.com
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลที่พบมากที่สุด ก็คือ PMN ซึ่งผลิตจากรัสเซีย ซึ่งคาดว่ากองทัพเวียดนามจะเป็นผู้วาง รองลงมาคือ TYPE 69 ซึ่งผลิตจากจีน คาดว่ากองทัพเขมรแดงจะเป็นผู้วาง
ทุ่นระเบิดดักรถถังที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ M6 A2 ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา คาดว่ากองทัพไทยจะเป็นผู้วางเอง เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยเข้ามาในดินแดนไทยของกองทัพเวียดนามและกองทัพเขมรแดง
ประสบการณ์กำลังจะสูญหาย
ผู้ที่ปฏิบัติการค้นหาและเก็บกู้ทุ่นระเบิดในประเทศไทย หลายคนเสียชีวิตไปแล้ว และหลายคนไม่มีโอกาสที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานรุ่นต่อไปได้ฟัง ความรู้และประสบการณ์ที่คนเหล่านี้มีอยู่ ยังไม่ถูกสกัดออกมาและเก็บบันทึกเอาไว้เป็นความรู้ให้ HDO รุ่นหลังได้ศึกษา ผมมีความเชื่อว่า "หากพวกเราแกะรอยมันได้ พวกเราจะปลอดภัย...และทำงานได้เร็วขึ้น" บางครั้งการค้นหาอดีต อาจช่วยให้เราแก้ปัญหาในปัจจุบันได้
การใช้เครื่องตรวจค้นเดินนำหน้าหาทุ่นระเบิดไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะมันเสี่ยงกับชีวิตของเรา หากเราพบมันเข้าจริงๆ สักทุ่นหนึ่งกลางผืนป่า อาจทำให้เรารู้สึกเว๋อ..สับสน คิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้าหากเรามีเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับการแกะรอยทุ่นระเบิดแล้ว ความรู้เหล่านี้อาจช่วยเราได้
การแกะรอยทุ่นระเบิด (Mine Tracker)
ในปีนี้ ผมตั้งใจที่จะรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการแกะรอยทุ่นระเบิด (Mine Tracker) จากผู้ที่มีประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1,2,3 และ 4 จากชุด ช.กองกำลังสนามต่างๆ จากองค์กร NGO ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ รวมทั้งศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ และเอกสารต่างๆ นำมาสกัดเป็นความรู้เพื่อถ่ายทอดให้แก่ HDO รุ่นหลังๆ ได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป องค์ความรู้เหล่านี้ ไม่ควรจะสูญหายไป และควรที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในปฏิบัติงานในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้พวกเราปลอดภัย ขอความกรุณา HDO ผู้มีประสบการณ์ ได้โปรดช่วยอนุเคราะห์ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของท่านให้แก่พวกเราฟังด้วย จักเป็นคุณูปการณ์อย่างยิ่งต่อวงการการปฏิบัติทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย (HDO in THAILAND) สืบต่อไป
*********************
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ : 27 ต.ค.2557
โทร. 081-434-8777
อีเมล์ s463368@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น