พื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิดที่สามารถปรับลดให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
พื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด
(CHA) ตามที่หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมต่างๆ ในประเทศไทยได้รายงานขอปลดปล่อยพื้นที่อันตรายให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย (Released area report) โดยผ่านการตรวจสอบและประเมินผลให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
(QC) จาก
ศทช.ฯ เรียบร้อยแล้ว ในปีงบประมาณ 2557 สามารถดำเนินการได้ทั้งสิ้น
26,627,315 ตร.ม. รายละเอียดตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 พื้นที่ CHA ที่สามารถปรับลดให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
ประจำปีงบประมาณ 2557
พื้นที่
|
ปีงบประมาณ 2557
|
||||
พื้นที่ปรับลด
(ตามแผน)(ตร.ม.)
|
พื้นที่ปรับลด
(ปฏิบัติจริง)
(ตร.ม.)
|
สูง(+) หรือ
ต่ำ (-) กว่าแผน (ตร.ม.)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
หมายเหตุ
|
|
นปท.1
|
3,009,224
|
1,350,775
|
-1,658,449
|
-55.11
|
|
นปท.2
|
4,585,925
|
4,815,427
|
+229,502
|
+5.00
|
|
นปท.3
|
9,162,838
|
7,375,105
|
-1,787,733
|
-19.51
|
|
นปท.4
|
11,092,834
|
9,607,419
|
-1,485,415
|
-13.39
|
|
NPA
|
2,919,196
|
3,041,417
|
+122,221
|
+4.18
|
|
APOPO-PRO
|
97,479
|
97,479
|
-
|
-
|
|
TDA
|
339,571
|
+339,571
|
+100
|
||
TMAC
|
122
|
+122
|
+100
|
||
รวม
|
30,867,496
|
26,627,315
|
-4,195,181
|
-13.74
|
สรุปพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด (CHA) ที่สามารถปรับลดให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2557 และทำการส่งมอบคืนให้แก่ผู้ใช้ประโยชน์ได้จำนวนทั้งสิ้น 26,627,315 ตร.ม. (26.62 ตร.กม.หรือ 16,642 ไร่เศษ) โดยพื้นที่ที่ทำการส่งมอบและประกาศรับรองเป็นพื้นที่ปลอดภัย สามารถจำแนกออกได้จำนวน 10 จังหวัด ดังแสดงไว้ตารางที่ 2
ตารางที่ 2 พื้นที่ปลอดภัยและทำการส่งมอบคืนให้แก่ผู้ใช้ประโยชน์ ประจำปีงบประมาณ 2557 แยกรายจังหวัด เรียงจากมากไปหาน้อย
|
||
ลำดับ
|
เขตพื้นที่
|
พื้นที่ส่งมอบ(ตร.ม.)
|
1
|
จ.เชียงใหม่
|
6,404,322
|
2
|
จ.อุบลราชธานี
|
5,316,155
|
3
|
จ.พะเยา
|
4,808,714
|
4
|
จ.ตราด
|
4,690,756
|
5
|
จ.ศรีสะเกษ
|
2,156,429
|
6
|
จ.น่าน
|
1,435,800
|
7
|
จ.สระแก้ว
|
1,350,775
|
8
|
จ.สุรินทร์
|
339,571
|
9
|
จ.จันทบุรี
|
124,671
|
10
|
จ.นครศรีธรรมราช
|
122
|
รวมทั้งสิ้น
|
26,627,315
|
|
สรุป
ปีงบประมาณ 2557 หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1-4 และองค์กรปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ไม่ใช่ของรัฐ (NGO) ได้ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการปรับลดพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด (CHA) ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 30.86 ตร.กม. แต่ด้วยความยากลำบากในการเดินทางเข้าพื้นที่ประกอบกับพื้นที่ CHA ส่วนใหญ่เป็นป่าหนาแน่นและมีความลาดชันสูง งบปฏิบัติการที่แต่ละ นปท.ได้รับก็ลดลง ส่งผลให้งานการปรับลดพื้นที่ปลอดภัยในปีนี้ ต่ำกว่าแผนถึง 4.19 ตร.กม. ในปีงบประมาณ 2557 ประเทศไทยได้พื้นที่ปลอดภัยกลับคืนมาเพียง 26.62 ตร.กม.
สรุป ณ วันที่ 30 ก.ย.2557 ประเทศไทยยังคงเหลือพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด จำนวนทั้งสิ้น 476.10 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด
สรุป ณ วันที่ 30 ก.ย.2557 ประเทศไทยยังคงเหลือพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด จำนวนทั้งสิ้น 476.10 ตร.กม. ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด
******************************
ข้อมูลจาก
ส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล. (2557). รายงานผลงานของส่วนประสานการปฏฺิบัติและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ : ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น