ผมไปค้นหาเอกสาร หนังสือ หรือนิตยสารเก่าๆ ที่ ศูนย์ปฏฺิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) เตรียมจะทำลายทิ้ง เผอิญไปพบเรื่องราวขององค์กรหนึ่งที่พยายามช่วยเหลือประเทศไทยเกี่ยวกับพิษภัยของทุ่นระเบิด เห็นแล้วรู้สึกชื่นชม แต่ปัจจุบันองค์กรนี้จากประเทศไทยไปแล้วไม่รู้เพราะอะไร
โครงการเกิดขึ้นระหว่างเดือน พ.ค.2547-เม.ย.2548 ชื่อโครงการ "การให้ความรู้เรื่องภัยทุ่นระเบิดใน จ.ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี" ดำเนินการโดย องค์การแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล-ประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 และเขต 4 และสำนักเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 และเขต 5 ภายใต้การสนับสนุนของ องค์การยูนิเซฟ (UNICEF)
ในปีนั้น จ.ศรีสะเกษมีขนาดของพื้นที่ประสบภัยจากทุ่นระเบิดมากที่สุด (541.8 ตร.กม.) รองลงมาคือ จ.อุบลราชธานี (510.1 ตร.กม.) พื้นที่เป้าหมายของโครงการนี้ คือ อ.ภูสิงห์ อ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษ์ ใน จ.ศรีสะเกษ และ อ.น้ำขุ่น อ.น้ำยืน อ.นาจะหลวย อ.บุณฑริก และ อ.สิรินธร ใน จ.อุบลราชธานี โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
"เด็กและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และ ไทย-ลาว ของ จ.ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี สามารถป้องกันตนเองจากภัยทุ่นระเบิดได้"
ตอนนั้นมีโรงเรียนใน จ.ศรีสะเกษ จำนวน 16 โรงเรียน และใน จ.อุบลราชธานี จำนวน 16 โรงเรียน รวม 32 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ตามหลักเกณฑ์ คือเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดสูง ระยะห่างระหว่างโรงเรียนและเขตชายแดน และคำแนะนำจากประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น
"เด็กและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และ ไทย-ลาว ของ จ.ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี สามารถป้องกันตนเองจากภัยทุ่นระเบิดได้"
ตอนนั้นมีโรงเรียนใน จ.ศรีสะเกษ จำนวน 16 โรงเรียน และใน จ.อุบลราชธานี จำนวน 16 โรงเรียน รวม 32 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ตามหลักเกณฑ์ คือเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดสูง ระยะห่างระหว่างโรงเรียนและเขตชายแดน และคำแนะนำจากประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น
ชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการและวิธีการให้ความรู้ |
กรอบความคิดในการทำงาน
การดำเนินงานเพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คือ ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแกนนำ อีกทั้งการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้แก่เด็กและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิด
ผลที่ได้รับจากโครงการ
จำนวนผู้ได้รับความรู้หรือความตระหนักเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดหลังเสร็จสิ้นโครงการ ได้แก่ นักเรียน(32 โรงเรียน) จำนวน 3,373 คน ชาวบ้าน 139 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา 31 คน คณาจารย์และศึกษานิเทศน์ 35 คน ประชาชนทั่วไปที่ได้รับความตระหนักในภัยทุ่นระเบิด (ผู้ประสบภัย ชาวบ้าน ข้าราชการ และผู้นำชุมชน) 3,500 คน
ปัญหาสำคัญที่ประสบขณะดำเนินงานโครงการในขณะนั้น
ปัญหาเรื่องการติดต่อสื่อสารในเขตชายแดน เนื่องจากระบบการติดต่อสื่อสารยังไม่ครอบคลุมและเข้าไม่ถึงบางพื้นที่ปฏิบัติงาน ทำให้ในบางเวลาไม่สามารถติดต่อประสานงานได้ ส่งผลให้โรงเรียนเป้าหมาย 1 โรงเรียนไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
นอกจากนั้นยังพบว่าชาวบ้านบางคนยังไม่ตระหนักในภัยทุ่นระเบิด ประกอบกับมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเดินทางเข้าป่าโดยคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดเหล่านี้ ถือเป็นความยากลำบากของคณะทำงานในการสร้างความตระหนักในภัยทุ่นระเบิด
ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนางานด้านการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด
ผู้ดำเนินการโครงการได้เสนอไว้ดังนี้
- การให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดอย่างยั่งยืนนั้น ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
- ภาครัฐ ชุมชน และองกรค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการกิจกรรม เช่นเดียวกับประชาชน ควรสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด
- ภาครัฐควรเสนอข้อมูลข่าวสาร ปัญหา และผลกระทบของภัยทุ่นระเบิดที่ถูกต้องแก่ประชาชน อีกทั้งส่งเสริมกิจกรรมให้ความรู้เรื่องป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดแก่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตชายแดน เพื่อถ่ายทอดต่อให้แก่นักเรียน
- ประชาชนในชุมชน ควรสนับสนุนกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดในชุมชนและสังคม โดยให้กลุ่มผู้ประสบภัยเป็นแนวร่วม
- ครูสามารถเป็นผู้ประสานงานในชุมชน เพื่อดำเนินงานด้านทุ่นระเบิด อันประกอบด้วย การเก็บกู้ทุ่นระเบิด การให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด และการช่วยเหลือผู้พิการจากภัยทุ่นระเบิด
- หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างยิ่งในการให้ความรู้ถึงแม้ว่าโครงการจะสิ้นสุดลง
โครงการนี้ผมเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ขอขอบคุณ HANDICAP INTERNATIONAL-THAILAND และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ข้อเสนอแนะของโครงการนี้ ในปัจจุบัน ผมยังไม่เห็นว่ามีหน่วยงานใดนำมาสานต่อเลย แม้กระทั่ง TMAC เอง โดยเฉพาะเรื่อง "การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด" คนเก่าๆ เล่าให้ผมฟังว่าองค์การแฮนดิแคปฯ นี้ ได้จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ผมกำลังค้นหาอยู่ว่าปัจจุบัน สื่อเหล่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง
ขอขอบคุณ HANDICAP INTERNATIONAL-THAILAND
ขอขอบคุณ HANDICAP INTERNATIONAL-THAILAND
*****************************
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ : 26 พ.ย.2557
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น