วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

การปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของไทยในสายตา NPA : NGO ระดับนานาชาติ

องค์กรความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ ( Norwegian People’s Aid : NPA) ซึ่งเป็น NGO ระดับนานาชาติองค์กรหนึ่งของโลกใบนี้ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ แจ้งเตือน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด/กับระเบิด และการลดอาวุธทุกรูปแบบ ได้จัดทำรายงานชื่อว่า "Clearing The Mines"  แจกจ่ายในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ครั้งที่ 14 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.2558 ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทย พอจะสรุปให้ฟังเพื่อประดับความรู้ได้ดังนี้




ในอนุสัญญาออตตาวา มีประเทศที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ณ ปัจจุบัน จำนวน 162 ประเทศ โดยประเทศในประชาคมอาเซียนที่ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิบปินส์ ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศไม่ได้ร่วมลงนามเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม  

ประเทศไทยถูกจัดลำดับให้อยู่ใน 10 ประเทศที่มีพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดมากที่สุดในโลก อันได้แก่ Afghanistan Angola Bosnia and Herzegovina Cambodia Chad Croatia Iraq Thailand Turkey และ Zimbabwe
(ข้อมูล เดือน พ.ย.2558) 

การทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด
ด้านความคืบหน้าในการดำเนินงานตามมาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยเรื่องการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่ทุ่นระเบิด : ประเทศไทยถูกระบุว่าไม่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานดังกล่าว โดยผู้นำทางการเมืองยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ขาดการสนับสนุนงบประมาณและการระดมทุนที่จำเป็นในการดำเนินงาน นอกจากนั้นสถานะของประเทศไทยถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) (ประเทศไทยจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 พ.ย.2561)

การจัดอันดับประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศ
NPA ได้จัดเกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละประเทศในด้านการเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา โดยมีเกณฑ์และตัวชี้วัดใน 10 ด้าน ใน
แต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้
    • ด้านที่ 1 ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด 
    • ด้านที่ 2 แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    • ด้านที่ 3 การกำหนดเป้​​าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    • ด้านที่ 4 ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    • ด้านที่ 5 การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
    • ด้านที่ 6 กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
    • ด้านที่ 7 ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
    • ด้านที่ 8 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
    • ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
    • ด้านที่ 10 การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา)
    ซึ่งทั้ง 10 ด้านนี้ เหมือนกับทีมตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของ International Campaign to Ban Landmines (ICBL) ที่ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นตาม "โครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิด " ของประเทศต่างๆ ที่เป็นรัฐภาคีตามอนุสัญญาออตตาวา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 (ดูรายละเอียด)

    เกณฑ์การแปลความหมาย

    • คะแนนเฉลี่ย 0.0-3.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อยมาก 
    • คะแนนเฉลี่ย 4.0-4.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อย 
    • คะแนนเฉลี่ย 5.0-6.9 หมายถึง มีประสิทธิภาพปานกลาง 
    • คะแนนเฉลี่ย 7.0 หรือสูงกว่า หมายถึง มีประสิทธิภาพมาก
    ตารางแสดงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศไทยตามอนุสัญญาออตตาวา ปี พ.ศ.2556 และ 2557 โดย NPA 

    ลำดับ
    ด้าน
    ประเทศไทย
    พ.ศ.2556 (2013)
    พ.ศ.2557 (2014)
    คะแนน
    ประสิทธิภาพ
    คะแนน
    ประสิทธิภาพ
    1
    ความเข้าใจปัญหาภัยคุกคามที่มีอยู่ของทุ่นระเบิด  
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    2
    แนวโน้มความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    3
    การกำหนดเป้าหมายในการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    5
    ปานกลาง
    7
    มาก
    4
    ประสิทธิภาพของการกวาดล้างทุ่นระเบิด
    5
    ปานกลาง
    6
    ปานกลาง
    5
    การระดมแหล่งเงินทุนจากนานาชาติ
    5
    ปานกลาง
    5
    ปานกลาง
    6
    กวาดล้างทุ่นระเบิดได้ทันเวลาที่ต้องการและเป็นไปตามความเร่งด่วน
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    7
    ระบบการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
    6
    ปานกลาง
    7
    มาก
    8
    การปฏิบัติการตามมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
    6
    ปานกลาง
    7
    มาก
    9
    รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา
    4
    น้อย
    5
    ปานกลาง
    10
    การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (ภายใน12 เดือนที่ผ่านมา)
    7
    มาก
    6
    มาก
    รวม
    5.0
    ปานกลาง
    5.8
    ปานกลาง

    ค่าเฉลี่ยในภาพรวม
    7
    มาก
    6.7
    ปานกลาง

    ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของประเทศไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาพรวมทั้ง 2 ปี
    • ปี พ.ศ.2556 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 7 คะแนน ไทยได้ 5 คะแนน
    • ปี พ.ศ.2557 ค่าเฉลี่ยในภาพรวม 6.7 คะแนน ไทยได้ 5.8 คะแนน
    ลองมาดูประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดของประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างเช่น กัมพูชา  ดูบ้าง ว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน จะได้เป็นตัวเทียบเคียงให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตามภาพด้านล่าง



    สถานะของประเทศกัมพูชาถูกระบุไว้ว่า "ไม่เป็นไปตามแผนงาน" (Not on track) เช่นเดียวกับประเทศไทย (ประเทศกัมพูชาจะสิ้นสุดอนุสัญญาฯ ที่เคยขอต่อไว้ในวันที่ 1 ม.ค.2563) แต่ภาพรวมของการปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2557 ประเทศกัมพูชาได้คะแนน 6.6 มากกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยได้คะแนนเพียง 5.8 หากดูในแต่ละด้านแล้ว มีด้านเดียวที่ประเทศกัมพูชาได้คะแนนต่ำกว่าไทย คือ ด้านที่ 9 รายงานความคืบหน้าตามอนุสัญญา ส่วนด้านที่เหลือเท่ากันและส่วนใหญ่จะมากกว่าไทย 

    ข้อมูลที่นำมาสรุปให้ฟังนี้ ก็เพื่อให้ผู้บริหารระดับนโบายและแผน รวมทั้งหน่วยปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ" ได้พึงตระหนักและพยายามหาวิธีการที่จะกลับมาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน (On track) มากกว่าที่ประเทศไทยจะถูกตราหน้าว่า "Not on track" ไปตลอด จนกว่าจะสิ้นสุดอนุสัญญาออตตาวา 

    ผมคิดว่า ยังไม่สายเกินไป

    *****************
    จุฑาคเชน : 22 มี.ค.2559

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น