K5 Mine-belt แปลเป็นไทยได้ว่า "เข็มขัดทุ่นระเบิด K5" หรือที่มักรู้จักกันในนาม ม่านไม้ไผ่ (Bamboo Curtain) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2528-2532 หลังจากที่กองทัพเวียดนามขับไล่กองกำลังเขมรแดงออกนอกประเทศกัมพูชาได้แล้ว จึงทำการปิดผนึกเขมรแดงไม่ให้กลับเข้าประเทศด้วยการวางสนามทุ่นระเบิด ยาวกว่า 700 กม.ตามแนวชายแดนกัมพูชา-ไทย มีการบันทึกว่าสนามทุ่นระเบิด K5 นี้กว้างถึง 500 เมตร ความหนาแน่นของทุ่นระเบิดที่วางประมาณ 3,000 ทุ่น ต่อความยาว 1 กิโลเมตร หากเป็นเช่นนั้นจริง เวียดนามต้องใช้ทุ่นระเบิดถึง 2,100,000 ทุ่น
K = มาจากภาษาเขมรคำว่า Kar Karpier แปลไทยได้ว่า "การป้องกัน"
5 = มาจากขั้นตอนการขับไล่เขมรแดงออกนอกประเทศกัมพูชาจำนวน 5 ขั้นตอน
K5 จึงแปลความหมายโดยรวมคือ แผน 5 ขั้นเพื่อขับไล่เขมรแดงออกนอกประเทศกัมพูชา
การวางแนวทุ่นระเบิดเพื่อปิดผนึกเขมรแดง คือ ขั้นตอนที่ 2 แผนนี้เป็นแผนของนายพล Le Duc Anh, commander of the PAVN forces in Cambodia
การวางแนวทุ่นระเบิดเพื่อปิดผนึกเขมรแดง คือ ขั้นตอนที่ 2 แผนนี้เป็นแผนของนายพล Le Duc Anh, commander of the PAVN forces in Cambodia
เล่ากันว่า "เขตแดนไทยและกัมพูชาที่แท้จริง ก็คือแนวทุ่นระเบิด K5 นี่เอง ซึ่งหากเราแกะรอยแนวทุ่นระเบิดนี้ได้ ก็จะเป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่จะพิสูจน์แนวเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ที่แท้จริงได้"
แต่แนวทุ่นระเบิด K5 ยังแกะรอยได้ไม่หมด
แนวทุ่นระเบิด K5 ตามแนวชายแดนไทย ถูกค้นหาโดย หน่วยปฏฺิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษย์ธรรมที่ 3 ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี, จ.ศรีสะเกษ, จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์ หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 ในพื้นที่ จ.สระแก้ว และหน่วยปฎิบัติทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2 (กองทัพเรือ) ในพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด
ส่วนฝั่งตรงข้ามตามแนวชายแดนกัมพูชา ถูกค้นหาโดย หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดภาคเอกชน (NGO) ที่ชื่อว่า HALO Trust
ผมได้มีโอกาสพบผู้แทนของ HALO Trust (โครงการประเทศกัมพูชา) เมื่อกลางเดือน พ.ย.2558 เขาเล่าให้ฟังว่ากำลังตามแกะรอยสนามทุ่นระเบิด K5 นี้เหมือนกัน
วันหนึ่ง...หากเราร่วมมือกัน น่าจะสามารถแกะรอยสนามทุ่นระเบิด K5 ได้สำเร็จโดยเร็ว พื้นที่จะได้มีความปลอดภัยแก่ราษฎรทั้งสองประเทศ ไม่ต้องสูญเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากการเหยียบทุ่นระเบิดอีกต่อไป นอกจากนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองชาติได้อีกทางหนึ่งด้วย
พวกเราอยากทำงานแกะรอย K5 ร่วมกันจริงครับ
แต่ก็เป็นแค่ "สักวันหนึ่งเท่านั้น" ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่
*********************
จุฑาคเชน : 24 พ.ย.2558
ผมได้มีโอกาสพบผู้แทนของ HALO Trust (โครงการประเทศกัมพูชา) เมื่อกลางเดือน พ.ย.2558 เขาเล่าให้ฟังว่ากำลังตามแกะรอยสนามทุ่นระเบิด K5 นี้เหมือนกัน
วันหนึ่ง...หากเราร่วมมือกัน น่าจะสามารถแกะรอยสนามทุ่นระเบิด K5 ได้สำเร็จโดยเร็ว พื้นที่จะได้มีความปลอดภัยแก่ราษฎรทั้งสองประเทศ ไม่ต้องสูญเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากการเหยียบทุ่นระเบิดอีกต่อไป นอกจากนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองชาติได้อีกทางหนึ่งด้วย
ภาพแนวสนามทุ่นระเบิด K5 ในเขตชายแดนประเทศกัมพูชา ตรงข้าม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว (ภาพจาก HALO Trust) |
ภาพสนามทุ่นระเบิด K5 ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่รอการเก็บกู้ ตั้งแต่ จ.อุบลราชธานี ลงมาถึง จ.ตราด (ภาพจาก ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ) |
แต่ก็เป็นแค่ "สักวันหนึ่งเท่านั้น" ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่
*********************
จุฑาคเชน : 24 พ.ย.2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น