วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

TMAC คืนรัง




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์ 

เผาเพิงพักชาวเขมรลักลอบตัดไม้พะยูง




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

TMAC หัวใจผูกกัน




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์ 

TMAC ยิ่งสูงยิ่งหนาว




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

TMAC-คนดีไม่มีวันตาย




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

Thailand Mine Action Center 2014 (ภาษาอังกฤษ)




ที่มา : สุชาต  จันทรวงศ์

สถานการณ์ทุ่นระเบิดในประเทศไทย พ.ศ.2555




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

APOPO Pro,Mine Action in Thailand




ที่มา : สุชาต  จันทรวงศ์

Thailand Experience in Victim Assistance




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์ 

แนะนำ ศทช. (TMAC)




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

การทำลายทุ่นระเบิด วันทุ่นระเบิดสากล




ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

Thailand Mine Action Center 2014 (ภาษาอังกฤษ)





ที่มา : สุชาต จันทรวงศ์

"ไขปมข่าว" ทุ่นระเบิดกับการเก็บกู้ที่ไม่รู้วันหมด




ที่มา : SpringNews

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

HANDICAP กับประเทศไทย ตอน : พิษภัยของทุ่นระเบิด


ผมไปค้นหาเอกสาร หนังสือ หรือนิตยสารเก่าๆ ที่  ศูนย์ปฏฺิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) เตรียมจะทำลายทิ้ง  เผอิญไปพบเรื่องราวขององค์กรหนึ่งที่พยายามช่วยเหลือประเทศไทยเกี่ยวกับพิษภัยของทุ่นระเบิด เห็นแล้วรู้สึกชื่นชม แต่ปัจจุบันองค์กรนี้จากประเทศไทยไปแล้วไม่รู้เพราะอะไร



























โครงการเกิดขึ้นระหว่างเดือน พ.ค.2547-เม.ย.2548 ชื่อโครงการ "การให้ความรู้เรื่องภัยทุ่นระเบิดใน จ.ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี" ดำเนินการโดย องค์การแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล-ประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 และเขต 4 และสำนักเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 และเขต 5 ภายใต้การสนับสนุนของ องค์การยูนิเซฟ (UNICEF)


ในปีนั้น จ.ศรีสะเกษมีขนาดของพื้นที่ประสบภัยจากทุ่นระเบิดมากที่สุด (541.8 ตร.กม.) รองลงมาคือ จ.อุบลราชธานี (510.1 ตร.กม.) พื้นที่เป้าหมายของโครงการนี้ คือ อ.ภูสิงห์ อ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษ์ ใน จ.ศรีสะเกษ และ อ.น้ำขุ่น อ.น้ำยืน อ.นาจะหลวย อ.บุณฑริก และ อ.สิรินธร ใน จ.อุบลราชธานี โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

"เด็กและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และ ไทย-ลาว ของ จ.ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี สามารถป้องกันตนเองจากภัยทุ่นระเบิดได้" 

ตอนนั้นมีโรงเรียนใน จ.ศรีสะเกษ จำนวน 16 โรงเรียน และใน จ.อุบลราชธานี จำนวน 16 โรงเรียน  รวม 32 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ตามหลักเกณฑ์ คือเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดสูง ระยะห่างระหว่างโรงเรียนและเขตชายแดน และคำแนะนำจากประชาชนและหน่วยงานในท้องถิ่น 



ชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการและวิธีการให้ความรู้


























กรอบความคิดในการทำงาน
การดำเนินงานเพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คือ ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแกนนำ อีกทั้งการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้แก่เด็กและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากทุ่นระเบิด 

ผลที่ได้รับจากโครงการ
จำนวนผู้ได้รับความรู้หรือความตระหนักเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดหลังเสร็จสิ้นโครงการ ได้แก่ นักเรียน(32 โรงเรียน) จำนวน 3,373 คน ชาวบ้าน 139 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา 31 คน คณาจารย์และศึกษานิเทศน์ 35 คน ประชาชนทั่วไปที่ได้รับความตระหนักในภัยทุ่นระเบิด (ผู้ประสบภัย ชาวบ้าน ข้าราชการ และผู้นำชุมชน) 3,500 คน

ปัญหาสำคัญที่ประสบขณะดำเนินงานโครงการในขณะนั้น
ปัญหาเรื่องการติดต่อสื่อสารในเขตชายแดน เนื่องจากระบบการติดต่อสื่อสารยังไม่ครอบคลุมและเข้าไม่ถึงบางพื้นที่ปฏิบัติงาน ทำให้ในบางเวลาไม่สามารถติดต่อประสานงานได้ ส่งผลให้โรงเรียนเป้าหมาย 1 โรงเรียนไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ 


นอกจากนั้นยังพบว่าชาวบ้านบางคนยังไม่ตระหนักในภัยทุ่นระเบิด ประกอบกับมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเดินทางเข้าป่าโดยคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดเหล่านี้ ถือเป็นความยากลำบากของคณะทำงานในการสร้างความตระหนักในภัยทุ่นระเบิด












ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนางานด้านการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด
ผู้ดำเนินการโครงการได้เสนอไว้ดังนี้
  1. การให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดอย่างยั่งยืนนั้น ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
  2. ภาครัฐ ชุมชน และองกรค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการกิจกรรม เช่นเดียวกับประชาชน ควรสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด
  3. ภาครัฐควรเสนอข้อมูลข่าวสาร ปัญหา และผลกระทบของภัยทุ่นระเบิดที่ถูกต้องแก่ประชาชน อีกทั้งส่งเสริมกิจกรรมให้ความรู้เรื่องป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดแก่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตชายแดน เพื่อถ่ายทอดต่อให้แก่นักเรียน
  4. ประชาชนในชุมชน ควรสนับสนุนกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดในชุมชนและสังคม โดยให้กลุ่มผู้ประสบภัยเป็นแนวร่วม
  5. ครูสามารถเป็นผู้ประสานงานในชุมชน เพื่อดำเนินงานด้านทุ่นระเบิด อันประกอบด้วย การเก็บกู้ทุ่นระเบิด การให้ความรู้เรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด และการช่วยเหลือผู้พิการจากภัยทุ่นระเบิด
  6. หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างยิ่งในการให้ความรู้ถึงแม้ว่าโครงการจะสิ้นสุดลง

โครงการนี้ผมเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ขอขอบคุณ HANDICAP INTERNATIONAL-THAILAND และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ข้อเสนอแนะของโครงการนี้ ในปัจจุบัน ผมยังไม่เห็นว่ามีหน่วยงานใดนำมาสานต่อเลย แม้กระทั่ง TMAC เอง โดยเฉพาะเรื่อง "การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการป้องกันภัยจากทุ่นระเบิด" คนเก่าๆ เล่าให้ผมฟังว่าองค์การแฮนดิแคปฯ นี้ ได้จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ผมกำลังค้นหาอยู่ว่าปัจจุบัน สื่อเหล่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง

ขอขอบคุณ HANDICAP INTERNATIONAL-THAILAND


*****************************

พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ : 26 พ.ย.2557

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัญลักษณ์แห่งมิตรภาพที่ยาวนาน


โครงการวิจัยและพัฒนาการทำลายทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้มอบเครื่องจักรกลช่วยในการกวาดล้างทุ่นระเบิด BEAVER ให้กับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ เพื่อสำหรับจัดแสดงอยู่กับที่  





























เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2557 โครงการวิจัยและพัฒนาการทำลายทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States of America's Humanitarian Demining Research and Development Program) โดย Mr.Burke เป็นผู้แทนมอบเครื่องจักรกลช่วยกวาดล้างทุ่นระเบิด BEAVER ให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติใช้จัดแสดงอยู่กับที่ (Static Display) เพื่อการเรียนรู้ โดยมี พล.ท.กฤษดา นรภูมิพิภัชน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ เป็นผู้รับมอบ และมี พ.ต.คริส กู๊ดริช Army FMS Programs, Joint U.S. Military Advisory Group - Thailand ร่วมเป็นสักขีพยาน 

BEAVER เป็นเครื่องตัดวัชพืช กว้าง 1.28 เมตร ยาว 2.31 เมตร หนัก 3.3348 ตัน ใช้กวาดล้างพื้นที่ป่าหนาทึบ และต้นไม้ขนาดเล็ก ขนาดกลางได้ดี การทำงานต้องใช้ Duck เป็นรีโมทคอยควบคุมการทำงานระยะไกล  หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 4 ใช้ BEAVER ปฏิบัติงานในพื้นที่ทุ่นระเบิด จ.น่าน จ.พะเยา และอุตรดิตถ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 และต่อมาปี พ.ศ.2555 มอบต่อให้หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2 ใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ จ.ตราด รวมระยะเวลาการปฏิบัติงานในประเทศไทย 13 ปี ช่วยกวาดล้างพื้นที่ทุ่นระเบิดในประเทศไทยได้ประมาณ 13 ตร.กม. 

ปัจจุบัน เจ้า BEAVER หมดอายุการใช้งานแล้ว ทางโครงการวิจัยฯ จึงได้มอบให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติใช้จัดแสดงเป็นอนุสรณ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพที่ยาวนาน และบ่งบอกถึงความพยายามที่จะสนับสนุนเพื่อให้ประเทศไทยปลอดภัยจากทุ่นระเบิดโดยเร็ว





























วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แหล่งข้อมูลผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด


สำหรับเพื่อนพี่น้อง HDO ทั้งหลายที่กำลังจะเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายที่ยืนยันว่ามีทุ่นระเบิด (CHA) ในปีนี้ ข้อมูลข่าวสารนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในการเข้าทำการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (NTS) โดยเฉพาะข้อมูลผู้ประสบภัย 

ตัวอย่างใบปะหน้าการสำรวจผู้ประสบภัยแต่ละคน

ผมพยายามค้นหาข้อมูลย้อนหลังดู พบว่าที่ห้องปฏิบัติการฐานข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ มีข้อมูลผู้ประสบภัยที่ทันสมัยและแทบจะครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ ข้อมูลนี้เป็นการสำรวจขององค์การแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกับมูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ (PRO) องค์การเยสุอิตสงเคราะผู้ลี้ภัย (JRS) และสำนักงานคาทอลิคสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (COERR) ทำการสำรวจข้อมูลผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดและการประเมินสถานการณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ และคณะทำงานดำเนินงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย 



หน่วยงานดังกล่าวดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 ก.ย.2551-28 ก.พ.2552 มีข้อมูลผู้ประสบภัยอย่างละเอียด จำนวนถึง 1,252 คน ในพื้นที่ 22 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ประจวบคิรีขันธ์ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุดรธานี สระแก้ว น่าน จันทบุรี ตราด อุตรดิตถ์ และเลย

ข้อมูลผู้ประสบภัยดังกล่าว มีความสมบูรณ์มาก ขอขอบคุณหน่วยงานดังกล่าวที่ได้จัดทำไว้ โดยเฉพาะองค์การแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล ถึงแม้ว่าวันนี้ จะไม่ได้ปฏิบัติงานในประเทศไทยแล้วก็ตาม ผมขอขอบคุณด้วยความจริงใจ 

เพื่อน HDO หน่วยใดที่จะเข้าพื้นที่ปฏฺิบัติงาน ลองสอบถามจาก จ.ส.อ.สุรินทร์ ชอบมะรัง (บี) โทร.087-194-5528 ให้ช่วยค้นหาข้อมูลผู้ประสบภัยก่อนได้ เวลาเข้าพื้นที่จะได้มีเป้าหมายและสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ไม่เสียเวลามากนักที่จะไปตระเวนถามจากชาวบ้านหรือผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ในพื้นที   

*******************************************
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ 14 พ.ย.2557

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมของอาเซียน ครั้งที่ 1 (1st ADMM-Plus on HMA) :เวียดนาม


ASEAN DEFENCE MINISTER’S MEETING-PLUS (ADMM- Plus):
Agenda : The First ASEAN Defence Ministers' Meeting-Plus Experts' Working Group on Humanitarian Mine Action Meeting : 1st ADMM-Plus on HMA
Hanoi, Vietnam, 18-19  June 2014
: CONCEPT PAPER WORK PLAN (2014-2017)


การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอาเซียน-พลัส :
วาระ : การประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ครั้งที่ 1
เมื่อ 18-19 มิ.ย.2557 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
: แนวทางการทำงาน (พ.ศ.2557-2560)



Introduction
กล่าวนำ

1. Although the wars and conflicts ceased long ago, their consequences continue to negatively affect security, human welfare and economic development in many Southeast Asian countries. Undetonated bombs, mines and other explosive ordnance (collectively referred to as Explosive Remnants of Wars (ERW) constitute a severe problem in these nations. Over the last several decades, there have been tens of thousands of deaths, and hundreds of thousands have been injured or disabled by buried explosives in several ASEAN countries. Bomb and mine contamination has had negative impacts on use of natural resources, agriculture, forestry, and fishery, and impeded the development of the investment environment, the general economy, society and tourism in those countries. 
1. แม้ว่าสงครามและความขัดแย้งจะสงบมานานแล้ว แต่ผลพวงลูกระเบิด, ทุ่นระเบิดและสรรพาวุธระเบิดอื่น ๆ (วัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ERW)) ยังคงมีผลกระทบเชิงลบต่อความปลอดภัยของมนุษย์ และยังขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ และยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในประเทศแถบนี้   ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศในอาเซียน มีคนตายนับหมื่นราย คนนับแสนคนได้รับบาดเจ็บ และพิการ  ลูกระเบิดและทุ่นระเบิดที่ยังคงตกค้างปนเปื้อนอยู่มีผลกระทบด้านลบต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร ป่าไม้ และการประมง รวมทั้งขัดขวางการพัฒนาของสภาพแวดล้อม การลงทุน ด้านเศรษฐกิจสังคม และด้านการท่องเที่ยวในประเทศเหล่านี้


2. With a clear understanding of the problem, ASEAN Member States, Especially those that are highly contaminated with bombs and mines such as Cambodia, Laos, Myanmar, the Philippines, Thailand and Viet Nam, have Made great efforts to establish mine action centers and launch national Programs for the disposal of ERW. These efforts have been strongly Supported by the international community and ASEAN s partners. However, because of the seriousness of contamination, together with ineffective cooperation, small-scale support and investments that are sometimes inappropriate to the actual situation in affected countries. It will take decades to deal with the problem 
2.จากปัญหาที่เห็นอย่างชัดเจน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่มีการปนเปื้อนอย่างมากกับลูกระบิดและทุ่นระเบิด เช่น กัมพูชา ลาว เมียนมาร์  ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม มีความพยายามที่จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ดำเนินการเก็บกู้และกำจัดวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ERW) ความพยายามเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากประชาคมระหว่างประเทศและพันธมิตรอาเซียน อย่างไรก็ตาม เพราะระดับความรุนแรงของการปนเปื้อน ประกอบกับไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ การสนับสนุนและการลงทุนยังอยู่ในวงจำกัดเล็กๆ ซึ่งบางครั้งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น ซึ่งมันจะใช้เวลาหลายทศวรรษที่จะจัดการกับปัญหาทุ่นระเบิดเหล่านี้ให้หมดไป 

3.Sharing the responsibilities for removing ERW is a humanitarian matter and A topic of mutual concern for our region and the international community. It thus should receive appropriate attention, and be incorporated into a suitable cooperative framework of the ASEAN Defence Ministers’ meeting-Plus (ADMM- Plus). 

3.การแบ่งปันความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ERW) นับเป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษยธรรม  และเป็นประเด็นของความกังวลร่วมกันสำหรับภูมิภาคของเราและประชาคมระหว่างประเทศ มันจึงควรได้รับความสนใจพอสมควรและควรจะอยู่ในกรอบความร่วมมือที่เหมาะสมของการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอาเซียนที่ประชุม-พลัส

Purpose and Objective
ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์


4. Purpose. the establishment of the ADMM- Plus Expert’s Working Group (EWG) on Humanitarian Mine Action (HMA) is aimed to promote practical And effective cooperation between the ASEAN Member States and Plus Countries in dealing with the remnants of war in the region.
4.ความมุ่งหมาย การจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การปฏิบัติการด้านทุ่นระเบิดและก่อเกิดความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในภูมิภาคที่ต้องการจัดการกับวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงครามให้หมดไป


5. Objective. the ADMM- Plus EWG on HMA will have the following
5. วัตถุประสงค์ มีดังต่อไปนี้

5.1 To enhance the awareness of threats, challenges and responsibilities of Individual nations and the international community; 

5.1 เพื่อเพิ่มความตระหนักของภัยคุกคาม ความท้าทาย และความรับผิดชอบของแต่ละประเทศ และประชาคมระหว่างประเทศ  

5.2 To leverage capabilities of affected Countries in dealing with ERW;
5.2 ยกระดับขีดความสามารถของประเทศได้รับผลกระทบในการจัดการกับวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ERW) 

5.3 To encourage the ASEAN Member States, Plus Countries and the international community to make common efforts to help the affected Countries;
5.3 เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศต่างๆ ร่วมทั้งประชาคมระหว่างประเทศ มีความพยายามร่วมกันที่จะช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบ

5.4 To develop cooperative solutions and initiatives to effectively deal with Mine contamination; and
5.4  เพื่อพัฒนาให้เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มที่จะจัดการกับปัญหาการปนเปื้อนของทุ่นระเบิดอย่างมีประสิทธิภาพ และ

5.5 To develop appropriate mechanisms for cooperation amongst the defence forces of the ADMM- Plus countries and for coordination for military and civilian groups in overcoming ERW consequences.
5.5 เพื่อพัฒนากลไกที่เหมาะสมสำหรับความร่วมมือระหว่างกองทัพของแต่ละประเทศในสมาชิกอาเซียน และประเทศที่เข้าร่วม และเพื่อการประสานงานในทางทหารและกลุ่มพลเรือนที่พยายามจะกำจัดวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ERW) ให้หมดสิ้นไป 



Scope of cooperation
ขอบเขตของความร่วมมือ


The scope of cooperation may include:
ขอบเขตของความร่วมมืออาจรวมถึง:
6.1 Host meetings and conferences to share experiences and information, and To enhance mutual understanding on related issues.
6.1 เจ้าภาพที่จัดการพบปะและประชุม ก็มุ่งหวังเพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ ข้อมูล และเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

6.2 Host conferences to study legal issues and to develop policies and Framework for cooperation in accordance with international law as the Rules of law in each of the affected countries based on respect for their Independence, sovereignty and integrity.
6.2 เจ้าภาพจัดการประชุมต้องศึกษาประเด็นทางกฎหมาย การพัฒนานโยบายและกรอบความร่วมมือตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตามตามกฎหมายของแต่ละประเทศที่ได้รับผลกระทบ บนพื้นฐานของความเคารพในความอิสระ ความมีเอกราชอธิปไตย และความซื่อตรง

6.3 Foster exchanges of experts and, of technical and human resource training 
6.3 ให้ความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ และการฝึกอบรมทางด้านเทคนิคและการฝึกอบรมเพื่อมุ่งหวังในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

6.4 Provide needed technologies, equipment and funds for demining
6.4 จัดให้มีเทคโนโลยีที่จำเป็น อุปกรณ์และกองทุนในการเก็บกู้ระเบิด

6.5 Help victims disabled by ERW integrate into society
6.5 ช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม ให้สามารถร่วมอยู่ในสังคมได้

Functions and Responsibilities 
หน้าที่และความรับผิดชอบ

7 Functions. The ADMM-Plus EWG on HMA will have the following: 
7 หน้าที่  ของ  ADMM-Plus EWG ใน HMA จะมีดังต่อไปนี้

7.1 Implement the ADSOM-Plus and ADMM-Plus decision, and provide policy 
7.1 ดำเนินการตามนโยบายและการตัดสินใจ ของ ADSOM-Plus และ ADMM-Plus  

7.2 Discuss and suggest specific solutions, scope and areas of cooperation that are suitable to normal practice and actual conditions of the region, and consistent with the existing of cooperation Framework in ASEAN 
7.2 ประชุมพิตารณาและให้คำแนะนำการแก้ปัญหาเฉพาะทาง ขอบเขตและพื้นที่ความร่วมมือที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานตามปกติและเงื่อนไขที่แท้จริงของภูมิภาคและสอดคล้องกับกรอบความร่วมมือของอาเซียน

8.Responsibilities. The ADMM-Plus EWG on HMA is responsible to: 
8.ความรับผิดชอบของ ADMM-Plus EWG ใน HMA  

8.1 Work out roadmap and plan of action, and follow the roadmap after its Approval; 
8.1 ทำงานตามแผนงานและแผนการปฏฺิบัติการ และเป็นไปตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติแล้ว 
8.2 Provide thorough assessment of activities of the EWG, propose necessary adjustments and additions to higher leaders for approval; 
8.2 จัดให้มีการประเมินผล การปฏิบัติงานของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (EWG)  เพื่อเสนอแนะความจำเป็นในการปรับปรุง รายงานขึ้นไปยังผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป 


8.3 Work closely with Mine Action Centers and Programs on ERW in Contaminated countries to ensure that roadmap contents and procedures for Consultation and policy recommendations fit actual conditions and rules of Law of each country while taking full advantage of and continuing successful Existing mechanisms; and 
8.3 ประสานงานงานอย่างใกล้ชิดกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดในแต่ละประเทศและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ERW)  ในประเทศยังมีการปนเปื้อน เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาแผนงานและวิธีการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และนโยบายที่เหมาะสมกับสภาพที่เกิดขึ้นจริงและกฎระเบียบของกฎหมายของแต่ละประเทศ ในขณะเดียวกันต้องพยายามใช้ประโยชน์ผลงานที่ประสบความสำเร็จแล้วอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กลไกที่มีอยู่ และ 

8.4 Host meetings and conferences, and prepare reports to higher leaders. 
8.4 เจ้าภาพที่จัดการพบปะและจัดการประชุม และเตรียมการจัดทำรายงานนำเสนอผู้นำระดับสูง 

Assessment and Report 
การประเมินผลและการรายงาน
The ADMM-Plus EWG on HMA will follow the decisions and directions made By the ADSOM-Plus and ADMM-Plus. 
ADMM-Plus EWG ใน HMA  จะดำเนินการตามการตัดสินใจและทิศทาง ซึ่งกำหนดโดย ADSOM-Plus และ ADMM-Plus. 

10. Report and proposals of the EWG will be submitted to higher leaders for approval in the following order: ADSOM-Plus WG, ADSOM-Plus and ADMM-Plus. 
10. รายงานและข้อเสนอแนะของ EWG จะถูกส่งไปยังผู้นำระดับสูงเพื่อพิจารณาอนุมัติตามลำดับดังนี้ : ADSOM WG-Plus, ADSOM-Plus และ ADMM-Plus 

Work Plan 2014-2017
แผนการปฏฺบัติงาน พ.ศ.2557-2560


11. The ADMM-Plus Experts’ Working Group on humanitarian Mine Action (EWG-HMA), co-chaired by Viet Nam and India in the term of 2014-2017, Was adopted by the 7th ADMM (May, 2013) and the 2nd ADMM-Plus (August, 2013)In Brunei Darussalam. In order to effectively promote this area of cooperation, Viet Nam and India, as the co-chairs, map out the Work Plan of EWG-HMA for 2014-2017 as follows: 
11.การประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (EWG-HMA) ในระหว่าง พ.ศ.2557-2560 มอบหมายให้ ประเทศเวียดนามและอินเดีย เป็นประธานร่วม , ซึ่งเป็นมติของการประชุม  ADMM ครั้งที่ 7 (พฤษภาคม 2556) และ การประชุม ADMM-Plus  ครั้งที่ 2 (สิงหาคม 2556) ที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม เพื่อการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงมอบให้อินเดียและุเวียดนามเป็นประธานประชุมร่วมกัน แผนงานต่อไปของ EWG-HMA สำหรับ พ.ศ.2557-2560 มีดังนี้


12. The 1st and 2nd EWG-HMA meetings are scheduled in Viet Nam and India Respectively in 2014. The objectives of the meetings would be to evaluate Real situation of mines and bombs left by wars in the region; to assess the Regional potential challenges and risks as well the capacity of the region In dealing with the consequences of explosive remnants of war; and to identify feasible cooperative areas that fit the interests and conditions of all parties. The point of contact(POC) among ADMM-Plus countries will be also established to identify the agency from each ADMM-Plus country which is in charge of Joining and promoting cooperating in the EWG-HMA. 
12. การประชุมคณะทำงานผู้เชียวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 กำหนดขึ้นในเวียดนามและอินเดีย  วัตถุประสงค์ของการประชุม คือการประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงของทุ่นระเบิด และลูกระเบิด ซึ่งเกิดจากสงครามในภูมิภาคนี้ ; การประเมินความท้าทายและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค การจัดการกับผลกระทบของวัตถุระเบิดที่ตกค้างตจากสงคราม การระบุพื้นที่ที่เป็นไปได้สำหรับความร่มมือระหว่างกัน ภายใต้ความสนใจและเงื่อนไขของทุกฝ่าย ช่องทางของของการติดต่อประสานงาน (POC) ระหว่างประเทศใน ADMM-Plus จะได้รับจัดตั้งอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อระบุหน่วยงานที่ชัดเจนของแต่ละประเทศ ซึงอยู่ในความดูแล การเข้าร่วมและส่งเสริมความร่วมมือของคณะทำงานผู้เชียวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (EWG-HMA) 


13. One EWG-HMA meetings or workshop and other practical activities will be held in 2015.  The EWG meeting would consider establishing channels of coordination and mechanisms of cooperation as information sharing, experience exchange, and related legal issues. Other activities of the EWG-HMA may include: (a) organize exhibition on equipment dealing with humanitarian Mine Action (Bomb and Mine Clearance, Detoxication of explosive remnants of war); (b) Conduct short training courses relating this field; (C) organize technical Performances and demonstrations on Surveying and demining with application Of new technologies. 
13.ในการประชุมครั้งหนึ่งๆของณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม  (EWG-HMA)  หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการและการฝึกปฏิบัติการต่างๆ ที่จะจัดขึ้น ใน พ.ศ. 2558. ณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม จะพิจารณาการสร้างช่องทางของการประสานงาน และกลไกของความร่วมมือที่ใช้ข้อมูลร่วมกัน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมอื่น ๆ ของ EWG-HMA อาจรวมถึง (ก) จัดนิทรรศการเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทุ่นระเบิด (ลูกระเบิดและกวาดล้างทุ่นระเบิด และการขจัดวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ข) ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับภาคสนาม (ค) จัดระเบียบทางเทคนิค การแสดงและการสาธิตเกี่ยวกับการสำรวจและเก็บกู้ทุ่นระเบิดพร้อมกับการนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้  


14. The ADMM-Plus shall Consider to organize a combined exercise which could Include participation of EWGs on Humanitarian Mine Action (HMA), Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR), Peacekeeping Operations (PKO), and Military Medicine (MM) as well as coordination with ASEAN Regional Mine Action Centre (ARMAC) in 2016 Other practical cooperative activities May be conducted. 
14. ADMM-Plus จะพิจารณาการจัดการออรวบรวมกิจกรรมต่างๆ การมีส่วนรวมต่างๆ ของณะทำงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HADR)  การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (PKO) และการแพทย์ทหาร (MM) รวมทั้งการประสานงานกับภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งภูมิภาคอาเซียน (ARMAC) ในปี 2559 รวมทั้งกิจกรรมความร่วมมือในทางปฏิบัติอื่นๆ ที่จะสามารถดำเนินการได้ 


15. The final EWG-HMA shall be held late 2016 or in early 2017 to assess the Overall implementation of the 2014-2017 Work Plan, draw lessons learned, propose specific cooperative programs for the next years and hand over the Co-chairmanship. 
15 สุดท้าย ณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม  (EWG-HMA) จะต้องจัดทำเรื่องราวต่างๆ ให้แล้วเสร็จในปลายปี 2559 หรือไม่เกินในต้นปี 2560  ที่จะประเมินการดำเนินงานในภาพรวมของแผนการปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2557-2560  จัดทำบทเรียนที่ได้รับ นำเสนอโครงการความร่วมมือเฉพาะสำหรับปีถัดไป และส่งมอบให้กับประเทศที่จะทำหน้าที่เป็นประธานร่วมต่อไป 

16. The ADMM-Plus countries are encouraged to host regarding cooperation on Humanitarian Mine Action. 
16. ประเทศใน ADMM-Plus ทุกประเทศจะต้องให้ความร่วมมือและให้การสนุสนุนแก่ประเทศที่จะเจ้าภาพในการจัดการเกี่ยวกับการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมต่อไป 
17. In some activities of cooperation, the co–chairs of the EWG-HMA may propose  To invite the related agencies, international organizations and NGOs, other Stakeholders in order to attract and mobilize more resources and effectively Implement cooperation humanitarian action mine. Such proposals Shall be Discussed with in the EWG and proceeded with on the basis of consensus among the EWG members. 
17.ในกิจกรรมบางอย่างของความร่วมมือ ประธานร่วมของณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (EWG-HMA) สามารถเสนอที่จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในการที่จะระดมทรัพยากรมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ เพื่อดำเนินการความร่วมมือการดำเนินการการปฏฺิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นข้อหารือกับในคณะทำงาน และมีการลงฉันทามติร่วมกันในหมู่สมาชิก EWG 

Conclusion
สรุป


18. The Concept & work Plan shall as guidance for HMA cooperation in framework of ADMM-Plus in the period of 2014-2017. The ADMM-Plus EWG on HMA shall work to foster the practical cooperation of the ADMM-Plus in dealing with the remnants of war, contributing to peace, stability and prosperity in the region 
18. แนวคิดและแผนการทำงานที่กล่าวมาใช้เป็นแนวทางความร่วมมือในการปฏฺิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (HMA) ในกรอบของ ADMM-Plus ในระหว่างปี พ.ศ.2557 -2560  ณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (EWG-HMA)  จะต้องทำงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในทางปฏิบัติของ ADMM-Plus เพื่อจัดการกับวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงครามให้หมดไป เพื่อสันติภาพความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคนี้






















***************************************
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์ ผู้แทนประเทศไทย