วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พบสรรพาวุธระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในรอบ 15 ปี

วันที่ 23 มิ.ย.2558 หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2 (นปท.2) ของกองทัพเรือ ตรวจพบสรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง (Abandoned Explosive Ordnance : AXO) จำนวนกว่า 5,000 รายการ บริเวณเทือกเขาบรรทัด บ.หนองรี ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด นับเป็นการพบเศษขยะสงครามครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา

TMAC presentation 2015 (English)

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การประชุมเตรียมการฝึกร่วม HMA Ex ที่อินเดีย

ผลการประชุมวางแผนขั้นสุดท้าย (Final Planning Conference : FTC)  
การฝึกปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (HMA Ex) และการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (PKOs)
วันที่ 12-14 ม.ค.2559 ณ เมืองพูเน่ สาธารณรัฐอินเดีย



ความเป็นมา : 

คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Experts’ Working Group on Humanitarian Mine Action : EWG on HMA)  ซึ่งมีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (วน.) และสาธารณรัฐอินเดีย (อด.) เป็นประธานร่วม ได้ร่วมมือกับคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Experts’ Working Group on Peacekeeping Operations : EWG on PKOs) ซึ่งมีราชอาณาจักรกัมพูชา (กพช.) และสาธารณรัฐเกาหลี (กล.ต.) เป็นประธานร่วม กำหนดการฝึกปฏิบัติการ ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมและการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของอาเซียน ปี 2559 ระหว่าง 24 ก.พ. - 8 มี.ค.2559 ณ เมืองพูเน่ (Pune) สาธารณรัฐอินเดีย โดยใช้รหัสร่วมกันว่า "Exercise Forces Eighteen"

วัตถุประสงค์ของการฝึกฯ 


เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ด้านการปฏิบัติการ ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมและด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ให้มีความเข้าใจถึงแนวทางในปฏิบัติงานร่วมกัน ตลอดจนเข้าใจถึงเทคนิคการปฏิบัติภารกิจระดับพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในคู่มือการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในสนามและการปฏิบัติต่อวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากการสู้รบ ของฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพ สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ  




แนวความคิดการจัดการฝึกฯ

แนวความคิดการจัดการฝึกด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ
หน่วยที่เข้ารับการฝึกการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพเป็นหน่วยระดับหมู่ หมวด โดยจะไม่ใช้กระสุนจริงในการฝึก มุ่งเน้นการแก้ปัญหาเรื่องกฎการใช้กำลัง และวิเคราะห์ภารกิจตามอาณัติ โดยจะแบ่งสถานีฝึกออกเป็น 7 สถานี ได้แก่ 


  • การทำความเข้าใจกับกฎการใช้กำลังและอาณัติของภารกิจ 
  • การลาดตระเวนทางเท้าและการรวบรวมข่าวระหว่างการลาดตระเวน 
  • การพิทักษ์ขบวนยานพาหนะ 
  • การพิทักษ์พลเรือน 
  • การรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการโจมตี 
  • การต่อต้านวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง 
  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในสถานการณ์รบ 
แนวความคิดของการจัดการฝึกด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม
มุ่งเน้นการเพิ่มความตระหนักรู้และความระมัดระวังถึงภัยคุกคาม ความท้าทายและความรับผิดชอบของชาติต่าง ๆ ต่อการจัดการกับปัญหาทุ่นระเบิดที่ตกค้างหลังสงครามและการสู้รบ โดยจัดการฝึกหลักในเรื่อง


  • การแจ้งเตือนและการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากทุ่นระเบิด (MRE)
  • การสำรวจ การทำเครื่องหมาย การตรวจค้นและการกวาดล้างทุ่นระเบิดตลอดจนวัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม (ERW)
  • การสนับสนุนอนุสัญญาห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา)
  • การทำลายทุ่นระเบิดที่สะสมอยู่ในคลัง 
กำหนดการฝึก
  • 23 ก.พ.2559 : ครูฝึกจากชาติต่าง ๆ รายงานตัวเข้าร่วมการฝึกฯ
  • 24 ก.พ. -1 มี.ค.2559 : ฝึกผู้ที่จะทำหน้าที่ครูฝึก
  • 1 มี.ค.2559 : ผู้รับการฝึกฯ เดินทางถึงพื้นที่ฝึกฯ
  • 2 มี.ค.2559 : พิธีเปิดการฝึกฯ และปฐมนิเทศผู้เข้ารับการฝึกฯ 
  • 3-7 มี.ค.2559 : การฝึกภาคสนาม
  • 6-8 มี.ค.2559 : การตรวจเยี่ยมการฝึกฯ
  • 8 มี.ค.2559 : พิธีปิดการฝึกฯ 

ตารางฝึกปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม

วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
2 มี.ค.2559
-พิธีเปิดการฝึกฯ
-บรรยายการปฏิบัติในการฝึกฯ แก่ผู้รับการฝึกฯ
-งานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้เข้ารับการฝึกฯ
3 มี.ค.2559
-การบรรยายสรุปเรื่องการสร้างความตระหนักถึงอันตรายจากทุ่นระเบิดตกค้าง และโครงการแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากทุ่นระเบิด โดยหน่วยบริการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งสหประชาชาติ (UNMAS)
-การบรรยายสรุปเรื่องการจัดตั้งศูนย์ประสานการปฏิบัติการด้านทุ่นระเบิด (MACC) และการระบุประเภท การสำรวจ และการทำเครื่องหมายพื้นที่อันตรายต้องสงสัยว่ามีทุ่นระเบิด
-การสาธิตเรื่องการสร้างความตระหนักถึงอันตรายจากทุ่นระเบิด
-การสาธิตเรื่องการจัดตั้ง MACC
-การสาธิตเรื่องการระบุประเภท การสำรวจ และการทำเครื่องหมายพื้นที่ปนเปื้อนจากทุ่นระเบิด
4 มี.ค.2559
-การบรรยายสรุปเรื่องการกวาดล้างทุ่นระเบิดด้วยเครื่องจักรกล  คนและสัตว์
-ฝึกปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิดด้วยเครื่องจักรกล  คนและสัตว์
5 มี.ค.2559
-การบรรยายสรุปเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยการฟื้นฟู การนำส่งผู้บาดเจ็บ และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ปลอดภัยจากทุ่นระเบิดแล้ว
-การสาธิตและเยี่ยมชมสนามฝึกระเบิดแสวงเครื่อง (IED)

6 มี.ค.2559
-นำชมสถานที่สำคัญในเมืองพูเน่
-งานเลี้ยงรอบกองไฟ
7 มี.ค.2559
-การบรรยายโดยผู้อำนวยการฝึกฯ
-การฝึกภาคสนามฯ
8 มี.ค.2559
-แถลงผลการฝึกฯ
-พิธีปิดการฝึกฯ

ตารางฝึกภาคสนามด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ


วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
2 มี.ค.2559
-พิธีเปิดการฝึก
-บรรยายสรุปสถานการณ์ฝึกฯ
-งานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้เข้ารับการฝึกฯ
3 มี.ค.2559
-การบรรยายสรุปเรื่องการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของอินเดีย
-การบรรยายสรุปเรื่องงานด้านยุทธการในพื้นที่ภารกิจ
-การบรรยายสรุปและการสาธิตเรื่องการลาดตระเวนในพื้นที่ภารกิจ
-การฝึกการลาดตระเวนในพื้นที่ภารกิจ
4 มี.ค.2559
-การบรรยายสรุปและการสาธิตเรื่องการคุ้มกันขบวนยานพาหนะ
-การฝึกเรื่องการคุ้มกันขบวนยานพาหนะ
-การบรรยายสรุปเรื่องการพิทักษ์พลเรือน
5 มี.ค.2559
-การบรรยายสรุปเรื่องภารกิจและหน้าที่ของหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
-การฝึกเรื่องหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการรักษาสันติภาพ
-ชมการแสดงเครื่องมือเก็บกู้วัตถุระเบิด
6 มี.ค.2559
-นำชมสถานที่สำคัญในเมืองพูเน่
-งานเลี้ยงรอบกองไฟ
7 มี.ค.2559
-การบรรยายสรุปสถานการณ์ฝึกภาคสนามฯ
-การฝึกภาคสนามฯ
8 มี.ค.2559
-แถลงผลการฝึกฯ
-พิธีปิดการฝึกฯ


การจัดกำลังพล ทท. เข้าร่วมการฝึกฯ : การจัดกำลังพลเข้าร่วมการฝึกด้านการเก็บกู้วัตถุระเบิดเพื่อมนุษยธรรมและด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพประกอบด้วย

  • ครูฝึก/วิทยากร 2 นาย [HMA 1 นาย (ศทช.ฯ)/PKO 1 นาย (ทบ.)] 
  • ผู้รับการฝึก 20 นาย [HMA 10 นาย (ศทช.ฯ, ทบ., นย.)/PKO 10 นาย (ศสภ.ฯ, ทบ.)]
  • ผู้สังเกตการณ์ฝึก 4 นาย [HMA 2 นาย (ศทช.ฯ, นย.)/PKO 2 นาย (ศสภ.ฯ, ทบ.)]